การจัดการธาตุอาหารในแปลงข้าวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต “โบรอน-B”
ความสำคัญ
- เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ช่วยทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง
- ช่วยให้พืชใช้ธาตุโพแทสเซียมได้มากขึ้น และดูดธาตุไนโตรเจนมาใช้ได้ดีขึ้น
- จำเป็นสำหรับส่วนที่กำลังเจริญเติบโต เช่น แตกใบอ่อน การเจริญเติบโตของยอด ราก
- เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ กระบวนการสังเคราะห์แสง และการผสมเกสร
อาการต้นข้าวขาดโบรอนและผลกระทบ
- ทำให้ยอดหรือส่วนที่อ่อนที่สุดของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชแคระแกร็น
- ส่งผลให้ความสูงของต้นข้าวลดลงและเมล็ดลีบ
- ใบอ่อน ปลายใบม้วน มีสีซีด
- ไม่เคลื่อนที่ในพืช ถ้าขาดจะแสดงอาการที่ใบอ่อน
- ถ้าพืชได้รับธาตุโบรอนมากเกินไป จะเกิดอาการเป็นพิษ ปลายใบมีสีเหลือง
การจัดการเพื่อไม่ให้ขาดธาตุโบรอน
- ถ้าดินเป็นกรดจัด ปรับปรุงดินให้มีค่าพีเอช 5.5-6.5
- เพิ่มอินทรีย์วัตถุลงในดินด้วยการไถกลบ
- นำปุ๋ยเกล็ดที่มีธาตุโบรอนมาผสมในรูปน้ำ เพื่อฉีดพ่นทางใบให้กับพืช
เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร