ราสนิมขาว
อากาศเย็น มีหมอกตอนเช้า ปลูกเบญจมาศ ให้เฝ้าระวัง “ราสนิมขาว” ลักษณะอาการ จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร
แมลงวันหนอนชอนใบในพืชผัก
แมลงวันหนอนชอนใบในพืชผัก ในระยะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวที่สภาพอากาศในช่วงเช้าจะเย็น หรือบางพื้นที่ที่มีฝนตก เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักควรเฝ้าระวังและสำรวจหนอนแมลงวันชอนใบในพืชผัก สามารถพบการเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ตัวเต็มวัย เป็นแมลงวันขนาดเล็กมีสีดำเหลือง ในระยะหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน ไม่มีขา หนอนชอนไชภายในใบทำให้เกิดรอยสีขาว คดเคี้ยวไปมา ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
ตั๊กแตนปาทังก้า
เตือนภัย…ตั๊กแตนปาทังก้า ตั๊กแตนปาทังก้าเป็นศัตรูพืชร้ายแรง จะกัดกินใบและต้นพืช ตั้งแต่เริ่มงอกจนออกดอกและติดผล หากถูกกัดกินจนได้รับความเสียหายจะมีผลกระทบต่อผลผลิต พืชอาหารมีประมาณ 34 ชนิด ได้แก่ข้าวโพด กล้วย ส้ม อ้อย ข้าวฟ่าง ใบมะพร้าว ปาล์มน้ํามัน ข้าว ถั่วเหลือง เป็นต้น ห้ามปล่อยตั๊กแตนคืนสู่ธรรมชาติ ปัจจุบันการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าเพื่อการค้ากําลังได้รับความนิยมอย่างมากในหลายพื้นที่ เนื่องจากมีวิธีการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยาก ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ต้นทุนต่ํา และได้รับผลตอบแทนสูง แต่ด้วยประเทศไทยเคยประสบปัญหาการระบาดของตั๊กแตนปาทังก้า ซึ่งสร้างความเสียหายกับพืชเศรษฐกิจสําคัญในหลายจังหวัด แม้ว่าปัจจุบันยังไม่พบการระบาดของตั๊กแตนปาทังก้า แต่หากไม่ควบคุมการเลี้ยงและให้คําแนะนําการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าที่ถูกต้องเหมาะสม อาจทําให้ตั๊กแตนปาทังก้าหลุดรอดออกมาแพร่ขยายพันธุ์ เกิดการระบาดทําลายพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
ใบร่วงชนิดใหม่ยางพารา
เตือนเฝ้าระวัง…โรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพารา สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ Colletotrichum sp. ลักษณะอาการ : อาการเริ่มแรกเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบและด้านบนของใบบริเวรเดียวกันจะเป็นสีเหลืองกลม ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้ง สีน้ำตาลจนถึงขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนมากกว่า 1 จุด อาจซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่ออาการรุนแรงเกิดใบเหลืองและร่วง ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงกลุ่มปากดูด ตัวเต็มวัยมีลําตัวสีน้ําตาลถึงสีน้ําตาลปนดํา มี รูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) ชนิดมี ปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดย อาศัยกระแสลมช่วย ทั้งนี้เต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง(เน้นการเคลื่อนที่ไปแปลงใหม่) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ เป็นกลุ่ม เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง(เน้นการลง ทําลายในพื้นที่) ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ เรียงแถว ตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ําเป็นสีน้ําตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรคลองหลวง จ.ปทุมธานีhttps://www.facebook.com/doaekhlongluang ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.