กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปลูกง่าย รสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารและยา ถือเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งในการบริโภคสดและการแปรรูปทั้งภายในประเทศ วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จุดประสงค์ใหญ่ ๆ 2 ประการ คือ เพื่อเพิ่มจำนวนต้นให้ได้มากในเวลาอันรวดเร็ว และเพื่อให้ได้ต้นที่สะอาด โดยการนำหน่อกล้วยสะอาดที่ผ่านการคัดเลือกต้นกล้วยที่สมบูรณ์ ปลอดโรค ตัดให้เหลือเฉพาะส่วนปลายยอดแล้วจึงย้ายไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ สูตร MS ย้ายชิ้นส่วนยอดทุกเดือนหลังพืชเพิ่มปริมาณยอดได้ 3-5 ยอดต่อเดือน เลี้ยงจนได้จำนวนยอดตามต้องการ จากนั้นนำยอดลงอาหารสูตรชักนำรากโดยเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 1 เดือน ต้นกล้วยจะมีลำต้นและรากที่สมบูรณ์ ความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีจำนวนใบไม่ต่ำกว่า 4 ใบ จำนวนรากไม่ต่ำกว่า 4 ราก ความยาวรากอยู่ระหว่าง 3-5 เซนติเมตร มาอนุบาลโดยการปรับสภาพที่อุณหภูมิห้องที่มีอากาศถ่ายเท สะดวกเป็นเวลา 7 วัน การอนุบาลการอนุบาลระยะที่ 1 : มาล้างอาหารวุ้นที่ติดอยู่กับต้นอ่อน แช่ในสารป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย เพื่อป้องกันโรคต้นเน่านำไปอนุบาลในถาดหลุม คลุมกระโจมพลาสติกเพื่อควบคุมความชื้น เป็นเวลา 20-30 วัน การอนุบาลระยะที่ 2 : นำต้นกล้ากล้วยลงถุงดำ ขนาด 3×7 หรือ 4×8 นิ้ว อนุบาล 30-40 วัน ต้นพร้อมออกปลูก ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ที่สวนไม้ผลและผลผลิตอาจเสียหายจากอุทกภัย จึงขอแนะนำวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลดและขอให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้ 1. เร่งระบายน้ำออกจากโคนต้นไม้ สวนไม้ผล หรือบริเวณที่มีน้ำขังโดยเร็ว ด้วยการขุดร่องระบายน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากสวนโดยเร็ว หากพื้นที่รอบสวนยังมีน้ำท่วมอยู่ จำเป็นต้องยกขอบแปลงเป็นคันดินเพื่อกันน้ำจากภายนอกทะลักเข้ามาในสวนด้วย 2. อย่านำเครื่องจักรกลเข้าสวนขณะที่ดินยังเปียกอยู่ และไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืช เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังโครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและกระทบกระเทือนต่อระบบรากของไม้ผล 3. เมื่อดินแห้ง ควรขุดเอาดิน ทราย หรือตะกอนต่าง ๆ ที่มากับน้ำและทับถมอยู่ในแปลงไม้ผลออก รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ด้วย เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานในแปลงไม้ผล 4. ตัดแต่งกิ่งไม้ผลที่ฉีก หัก และแน่นทึบออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ช่วยลดการคายน้ำของพืช และเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น หากมีไม้ผลโค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่งและพยุงต้นไม้ผลที่โค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่งและพยุงต้นไม้ผลที่โค่นล้มให้ตั้งตรง และทำไม้ค้ำยันไว้รอบด้าน หากมีผลติดอยู่ให้ตัดแต่งออกเพื่อไม่ให้ต้นโทรม 5. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วยให้ไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะระบบรากยังไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินได้ตามปกติ โดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 หรือ 16-21-27 ละลายน้ำแล้วฉีดพ่นก็ได้ 6. เมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินให้แก่ไม้ผล เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช จะช่วยให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยบำรุงไม้ผลด้วย 7. ในสวนไม้ผลเมื่อถูกน้ำท่วมขังนานๆ หลังน้ำลดมันเกิดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่า ควรป้องกันรักษาด้วยการ ใช้สารเคมีกันรา ราดหรือทาโคนต้น เช่น เมตตาแลดซิล (ริโดมิล) อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (อาลิเอท) หรือ พีซีเอ็นบี (เทอราดลอร์, บลาสลิโคล) หรืออาจใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น โตรโคเดอร์มา หรือปรับสภาพดินด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย ไม่เหมาะต่อการเกิดโรค 8. การปลูกซ่อมแซมในสวนไม้ผลหลังถูกน้ำท่วม ควรปรับสภาพดินเมื่อเริ่มแห้งโดยการโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ ป้องกันการเกิดโรครากเน่าและโคนเน่า โรยปุ๋ยคอก และตากดินทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือนก่อนขุดหลุมปลูก ห้ามดำเนินการในขณะที่ดินยังเปียกชุ่มหรือมีน้ำขังอยู่โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เกษตรกรชาวสวนไม้ผลควรติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง แจ้งความเสียหายและขอรับการสนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มาฟื้นฟูไม้ผล ไม้ยืนต้นหลังน้ำลดได้ที่ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรใกล้บ้านท่านทุกอำเภอ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร : ข้อมูล กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : ข่าว
ค่าMRLค่า ADI
มาทำความรู้จักกับค่า MRL และค่า ADI สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
การผลิตกล้วยพันธุ์ดี
การผลิตกล้วยพันธุ์ดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0 5590 6220 การผลิตกล้วยพันธุ์ดี หนึ่งในผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมานาน มีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกในเชิงการค้าจะมี 3 ชนิด คือ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่ และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการผลิตกล้วยให้ได้ผลดี วิธีปลูก การให้น้ำ ซึ่งทางศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร ก็มีองค์ความรู้ที่พร้อมเผยแพร่ให้กับผู้สนใจ โดยทั่วไปการคัดต้นพันธุ์สำหรับปลูก มักใช้หน่อจากต้นพันธุ์กล้วยที่สมบูรณ์แข็งแรงไปปลูก อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์กล้วยโดยใช้หน่ออาจเสี่ยงกับโรคและแมลงที่ติดมากับหน่อพันธุ์ ดังนั้น การใช้ต้นพันธุ์กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นต้นพันธุ์ดี มีลักษณะตรงตามที่ต้องการ สามารถให้ผลผลิตในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ง่ายต่อการจัดการแปลง เตรียมตัวก่อนลงมือปลูก 1. การวางแผน ควรวางแผนเรื่องชนิดของกล้วยที่เหมาะสมและระยะเวลาปลูก ให้สัมพันธ์กับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวตามความต้องการของตลาด 2. การกำหนดระยะปลูกกล้วย คำนึงถึงชนิดของพันธุ์กล้วยที่จะปลูก ขนาดของต้นและทรงกอ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด และจำนวนครั้งในการเก็บเกี่ยว 3. การเตรียมหลุมปลูก ควรขุดหลุมให้กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตรจากนั้นเอาดินชั้นบนรองก้นหลุมโดยผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 4. การปลูกกล้วย วางต้นพันธุ์กล้วยลงหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก โดยปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับกล้วยอยู่ระหว่าง 17-20 ลิตรต่อต้นต่อวัน วิธีการให้น้ำที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบน้ำหยด ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกลอร์) โดยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากผลการตรวจวิเคราะห์ดิน โดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี – ใส่ปุ๋ยครั้งแรก หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัมต่อต้น – เดือนถัดไป ให้เป็นเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กรัมต่อต้นต่อเดือน – ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีทุก 3 เดือน โดยงดใส่ปุ๋ยเคมีในเดือนที่ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก หนอนกอตัวเต็มวัย หากพบการเข้าทำลายของหนอนกอ ให้ตัดแต่งใบและหน่อ เพื่อให้แสงแดดส่องได้ถึงพื้นดิน ร่วมกับการทำกับดักล่อ และเก็บฆ่าทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สำหรับใครที่สนใจขอรับข้อมูลการผลิตกล้วยพันธุ์ดี ติดต่อได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0 5590 6220 หรือ ดาวน์โหลดแผ่นพับความรู้ทางการเกษตร เรื่อง การผลิตกล้วยพันธุ์ดี ได้ที่https://esc.doae.go.th/การผลิตกล้วยพันธุ์ดี
สับปะรดศรีเชียงใหม่ GI
สับปะรดศรีเชียงใหม่ GI