ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ไผ่รวก

ไผ่รวก ไผ่ขึ้นเป็นกอแน่น ลำขนาดเล็ก เรียวตรง กิ่งแขนงน้อย มีกาบแห้งติดกับลำ ลักษณะเด่นไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2-4 เซนติเมตร ในที่แล้ง และขนาด 4-7 เซนติเมตร ในที่ชื้น ความสูง 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตันที่ปลายลำมีเนื้อบางกว่า ลักษณะกอปลายลำมักโค้งลง กอค่อนข้างแน่น กาบหุ้มลำคล้ายกระดาษติดอยู่กับลำนาน

จุลินทรีย์หน่อกล้วย ประโยชน์จากจุลินทรีย์หน่อกล้วย บำรุงดินจุลินทรีย์หน่อกล้วย 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงดิน ปรับสภาพดินให้เป็นกลาง ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ เร่งการย่อยสลายจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร ราดบริเวณที่ต้องการ กรณีหมักฟางข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย

เตือนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของราสนิมขาวในผักบุ้ง การระบาดของโรคราสนิมขาวในผักบุ้งช่วงหน้าฝน เกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae ทำให้บนใบเป็นจุดเหลือง ใต้ใบจะพบกลุ่มของสปอร์ของเชื้อราสีขาว โรคทำให้ใบหงิกงอ ถ้าอาการรุนแรงใบจะไหม้เสียหาย ต้นชะงักการเจริญเติบโต เชื้อแพร่ระบาดได้ดีในฤดูฝนหรือในสภาพที่มีความชื้นสูง การป้องกันกำจัด อาการของโรคราสนิมขาวในผักบุ้ง ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

การปลูกผักสวนครัวในพื้นที่จำกัด องค์ความรู้โดย นางลำใย ตรีหิรัญ Smart Farmer พระสมุทรเจดีย์1. ทำสวนผักในถาดใส่เมล็ดผักที่ต้องการปลูกลงไป หมั่นรดน้ำพรวนดิน แล้วนำไปวางในที่แสงแดดส่องถึงพืชที่นิยมปลูกได้แก่ ต้นอ่อนทานตะวัน ผักชี 2. ปลูกผักในแกลลอนเหลือใช้นำแกลลอนที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาล้างน้ำ ให้สะอาด ตัดพลาสติกที่ด้านข้างออก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและรดน้ำ 3. ปลูกผักในกล่องโฟมกล่องโฟมที่ไม่ใช้แล้วสามารถนำมาปลูกผักได้เนื่องจากใส่ดินได้เยอะ มีนำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะสำหรับการปลูกพืชผักกินใบ

ฮอร์โมนพืช? (Plant Hormones) สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ ในบริเวณเนื้อเยื่อของพืชก่อนเคลื่อนย้ายสารดังกล่าวไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย เพื่อส่งสัญญาณเริ่มกระบวนการสร้าง ทำการควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของพืช ทั้งด้านการเจริญเติบโต การงอกของเมล็ด การออกดอกออกผล การผลัดใบ รวมไปถึงการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืช ออกซินหน้าที่ : ยับยั้งการเจริญตา (กิ่ง ก้าน ผล) กระตุ้นการแบ่งเซลล์ให้มีการยืดขยาย กระตุ้นการเจริญเข้าหาแสงของพืชสารที่คุณสมบัติคล้ายกัน

เตือนภัยการใช้สารเคมีการเกษตร ระวัง!!การใช้สารกำจัดแมลงบางชนิดร่วมกับสารโพรพานิล ได้แก่ โพรพานิล, โคลมาโซน+โพรพานิล,บิวทาคลอร์,โพรพานิล ห้ามผสมกับสารกำจัดแมลง กลุ่ม 1A และ 1B แต่หากจำเป็นต้องพ่นสารโพรพานิลก่อน หรือ หลัง สารกำจัดแมลงกลุ่ม 1A และ 1B ให้เว้นระยะ 10-14 วัน กลุ่ม 1A

โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา : Pseudoperonospora cubensis อาการเริ่มแรกพบจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลขนาดเล็ก และขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลือง โดยจะพบที่ใบล่าง ใบแก่หรือโคนเถา ในเวลาเช้ามืดจะเห็นเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาที่ใต้ใบ ขอบใบจะม้วนและร่วง ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล*ในเมล่อน แคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง วิธีการดูแลรักษา ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงสิง

แมลงสิง แมลงสิง เป็นมวนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี ปล่อยกลิ่นเหม็นจากต่อมที่ส่วนท้อง ตัวเต็มวัยออกหากินช่วงเช้ามืดและบ่าย เพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิต 2-3 เดือน วางไข่เป็นกลุ่ม 10-12 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน

โรคดอกกระถินในข้าว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Ustilaginoidea virens (Cke.) การเข้าทำลายในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อราเข้าทำลายรวงข้าวในระยะเริ่มออกดอก เชื้อราสาเหตุโรค มีลักษณะเป็นผงหรือกลุ่มก้อนขนาดเล็กสีเหลือง พบอยู่ระหว่างเปลือกเมล็ดข้าว ต่อมาเชื้อราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเจริญเติบโตคลุมเมล็ดข้าวทั้งเมล็ด เมื่อเชื้อราเจริญต่อไป เยื่อหุ้มจะแตกออก เชื้อราจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ถ้าเชื้อราแก่จัด อาจพบเป็นสีดำ สุดท้ายก้อนเชื้อราดอกกระถินจะมีรอยแยกและมีสีเขียวเข้มปนเหลือง ระยะนี้เชื้อราจะปลิวไปกับลม เข้าทำลายเมล็ดข้าว ต้นอื่น

รายงานประจำปี เดือนตุลาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) หรือที่ http://library.doae.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517

สำนักงานเกษตรจังหวัพระนครศรีอยุธยา วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานเกษตรจังหวัพระนครศรีอยุธยา ขอรับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำ จำนวน 3,050

ผู้รับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี วันที่ 21 ตุลาคม 2565 สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ขอรับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำ

กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร วันที่ 20 ตุลาคม 2565 กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ขอรับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำ

วันที่ 3 สิงหาคม 2565 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จ.สุพรรณบุรี ขอรับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำ จำนวน

วันที่ 28 มิถุุนายน 2565สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานครขอรับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำ จำนวน 410 แผ่น/เล่ม สื่อวิดีทัศน์