ปุ๋ยไนโตรเจน ทำไมมีหลายสูตรจัง?
รูปแบบของไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับพืชและดูดใช้งานได้ ประกอบด้วย
- แอมโมเนียม-ไนโตรเจน (NH4+)
- ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-)
- ยูเรีย-ไนโตรเจน (CO(NH2)2)
ในธรรมชาติทั่วไปของดิน ไนโตรเจนส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอมโมเนียมและไนเตรท ส่วนไนโตรเจนในรูปยูเรียมีอยู่ปริมาณน้อยมาก พืชดูดใช้ไนโตรเจนรูปยูเรียได้เฉพาะในกรณีที่มีการใส่ปุ๋ยยูเรียลงไปในดินเท่านั้น
ปุ๋ยไนโตรเจนที่มักพบในท้องตลาด
- 46-0-0 ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนในรูปไนเตรท 46%
- 21-0-0 แอมโมเนียมซัลเฟต คือ ไนโตรเจนในรูปไนเตรท 21% ซัลเฟอร์ 21%
- 15-0-0 แคลเซียมไนเตรท คือ ไนโตรเจนในรูปไนเตรท 15% แคมเซียม ประมาณ 25%
- 13-0-46 โพแทสเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในรูปไนเตรท 13% และมีโพแทสเซียม 46%
- 27-0-0 แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนรูปไนเตรทเท่ากับ 13.5% ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม 13.5% และแคลเซียม ประมาณ 11%
- 30-0-0 แอมโมเนียมไนเตรทซัลเฟต คือ ไนโตรเจนในรูปไนเตรท 15% ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม 15% และแคลเซียม ประมาณ 10%
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดินต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการเลือกชนิดของปุ๋ยไนโตรเจน ปริมาณที่ใช้ จำนวนครั้งในการแบ่งใช้ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงชนิดของพืช อายุของพืช และชนิดของดินด้วย การใช้ในปริมาณที่มากเกินความต้องการของพืชอาจส่งผลให้เป็นพิษต่อพืช และเป็นการสิ้นเปลือง เพิ่มต้นทุนการผลิต เนื่องจากเกินความสามารถของพืช ในการกักเก็บของดินและการดูดใช้ของพืช
- ปุ๋ยไนโตรเจนนั้นมีข้อเสียหรือข้อจำกัด คือ เป็นปุ๋ยที่มีการสูญเสียและสามารถชะล้างได้ง่ายที่สุด ในบรรดาธาตุอาหารหลักของพืชทั้งหมด
จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร