ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี


46-0-0
ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย

27-0-0
แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ คือ ในรูปไนเตรทเท่ากับ 13.5% มีไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมเท่ากับ 13.5% และมีธาตุอาหารรองบางธาตุเป็นองค์ประกอบ คือ แคลเซียมประมาณ 11-12% และกำมะถัน ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ละลายน้ำ และตอบสนองต่อพืชได้เร็ว และมีความเขียวได้นานต่อเนื่อง นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล

21-0-0
แอมโมเนียซัลเฟต คือ ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย 21% และมีกำมะถัน ประมาณ 23-24% ช่วยเพิ่มสีสัน กลิ่น และน้ำมัน เมื่ออยู่ในดิน หรือสภาพน้ำขังจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างต่อเนื่อง พืชจะค่อย ๆ เขียว ต้นพืชเขียวได้นานมากกว่าการได้รับไนโตรเจนในรูปอื่น ๆ แต่ความเข้มของสีใบจะไม่เข้มมาก เหมาะกับการใช้ในพืชไร่ พืชนาน้ำขัง หรือพืชสะสมอาหารอายุยาว

15-0-0
แคลเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในรูปไนเตรทเท่ากับ 15% และมีแคลเซียมประมาณ 25-26% ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ละลายน้ำและตอบสนองต่อพืชได้เร็ว พืชเขียวเร็ว นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล โดยรูปไนเตรทจะสูญเสียได้ง่ายไปกับน้ำและอากาศ

13-0-46
โพแทสเซียมไนเตรท คือ มีไนโตรเจนในนรูปไนเตรท 13% และมีโพแทสเซียม 46% มีคุณสมบัติในการละลายในนน้ำได้ดี ใช้ในการกระตุ้นการสะสมอาหาร และเพิ่มคุณภาพผลผลิตในพืช เพราะได้ทั้งรูปไนโตรเจน และโพแทสเซียม นิยมใช้ในพืชผัก ไม้ผล และพืชไร่

เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

คุณสมบัติของปุ๋ยไนโตรเจนรูปแบบต่าง ๆ
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/12/ปุ๋ยไนโตรเจน.jpg