ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

นายยุทธพงษ์ รัตนวิทย์ เกษตรกรต้นแบบ ได้นำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ เช่น โรงเรือนปลูกพืชและระบบน้ำ มีการวางระบบน้ำในแปลงปลูกพืชผัก เช่น ระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์ และระบบการให้น้ำอัจฉริยะ (Handy Sense) มาใช้ในโรงเรือนปลูกผัก สามารถประหยัดเวลาในการให้น้ำ เพิ่มความแม่นยำในการควบคุมปริมาณน้ำให้แก่พืชผัก ทำให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง และสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สามารถกำหนดปริมาณน้ำให้เหมาะสมและเพียงพอ ตามชนิดพืชที่ปลูกได้ เมื่อพืชได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในราคาที่จับต้องได้จากการติดตั้งใช้งานจริงและพิสูจน์แล้วว่า Handy

ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) ในแต่ละชนิด 18-46-0 แม่ปุ๋ย DAP (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส) มีธาตุอาหารในรูปแอมโมเนียม-ไนโตรเจน 18% และมีฟอสฟอรัสในรูปของ phosphorus pentoxide 46% เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผสมและผลิตปุ๋ย มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ช่วยในการเร่งการแตกราก และช่วยบำรุงต้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับไม้ดอก ในช่วงระยะการเร่งออกดอก บำรุงดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์แข็งแรง เกสรสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยที่หมายรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศทั้งหมด เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมมาจากกิจกรรมมนุษย์ สถานการณ์ภัยแล้งประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลกระทบเป็นชนวงกว้างให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคลิกอ่าน : https://bit.ly/3CA9fTQ เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร?คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TtaHvY

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น

โทษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร กฎหมายอาญา มาตรา 220 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)“ผู้ใดทำให้เกิดไฟไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท” ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุเกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระะวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฟรี วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร การคัดเลือกแม่พันธุ์และการขยายกล้วยพันธุ์ดีหน่วยงาน : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลกหมายเลขโทรศัพท์ : 0 5590 6220 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร

“กระเจียวหวาน” เพชรน้ำผึ้ง พืชสร้างรายได้ นางประดิษฐ์ บุญเกษม เกษตรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล “สวนดอกกระเจียว” หมู่ 21 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เริ่มปลูกกระเจียวเพชรน้ำผึ้งในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างรายได้เสริม ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

วันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 350เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล

นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล

วันที่ 31 มกราคม 2567 นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา โครงสร้าง พันธกิจ ภารกิจ บทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อใช้ในการทำรายงานในรายวิชาที่กำลังศึกษา ณ ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร

เรียนรู้ “การปลูกผักสำหรับคนเมือง” ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร

เรียนรู้ "การปลูกผักสำหรับคนเมือง" ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร

ทำการเกษตรในเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว จัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมือง” เจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ ณ ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเรียนรู้รูปแบบการส่งเสริมการเกษตรในเมือง ในประเด็น “การปลูกผักสำหรับคนเมือง” นับเป็นการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มพื้นที่สีเขียว สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของคนในเมือง ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้จัดกิจกรรมผลิตสื่อรณรงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ประเด็น “การปลูกผักสำหรับคนเมือง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับรู้ เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการการขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบการเกษตรในเมือง หรือการทำการเกษตรในพื้นที่จำกัด อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเกษตรในเมือง เป็น 1 ใน 9 แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มุ่งส่งเสริมการทำการเกษตรแก่คนในเมืองให้มีความรู้และทักษะด้านการเกษตร เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และสร้างรายได้ จัดการพื้นที่เพื่อทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของคนในเมือง เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองและความต้องการอาหารปลอดภัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภายใต้กิจกรรมดังกล่าวมีการจัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับการปลูกผักเพื่อบริโภคเอง โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การปลูกผักแบบแนวตั้ง การใช้ภาชนะแขวน ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์หรือการปลูกแบบใช้น้ำ ปลูกในกระถาง ภาชนะหรือของเหลือใช้ ปลูกเป็นซุ้ม และการเพาะผักงอก เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานใกล้เคียง ประชาชนและผู้มารับบริการจำนวนมาก ทั้งนี้ นิทรรศการดังกล่าวยังจัดแสดงและเผยแพร่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2566 ผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ที่ ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็นการส่งเสริมและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเผยแพร่เป็นวิดีทัศน์ผ่านสื่อออนไลน์ ในเรื่องภาพรวมและความสำคัญของไม้ดอกไม้ประดับ มูลค่าการจำหน่ายและตัวเลขการผลิต การลดการนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับด้วยการส่งเสริมการปลูกเองภายในประเทศ เช่น กุหลาบ เบญจมาศ การให้ความสำคัญและส่งเสริมไม้ดอกไม้ประดับพื้นถิ่น เช่น มะลิ พุด รวมถึงการทำการตลาดและสร้างการรับรู้ให้ต่างชาติรู้จักไม้ดอกไม้ประดับของไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตไม้ดอกไม้ประดับให้มีประสิทธิภาพ ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์