ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

“GOOD & FOOD SECURITY” ไข่ผำ สุขภาพที่ดีและความมั่นคงทางอาหาร ไข่ผำ หรือ ไข่น้ำไขผำ เป็นพืชน้ำพื้นบ้านที่พบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง ลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวขนาดเล็ก มีชื่อว่า “กรีนคาเวียร์” และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูง รสชาติรสชาติของไข่ผำจะมีรสจืด เคี้ยวมัน เพราะเนื้อสัมผัสกรุบ ๆ คล้ายไข่ปลา

รู้หรือไม่! กรมส่งเสริมการเกษตร รณรงค์ให้เกษตรกร “หยุดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อลดผลกระทบจากการเผา ผ่าน โมเดล 3R” โมเดล 3R มีอะไรบ้าง และเราสามารถจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ได้อย่างไร สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ เคล็ด(ไม่)ลับ หยุดเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการที่ยั่งยืน คลิกอ่าน : https://bit.ly/3CAPbkd การจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ คลิกอ่าน

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในมันสำปะหลัง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง มีสภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

วันที่ 22 มกราคม 2568 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 1,173 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการเนชั่นอาสา เนชั่นทีวี

บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการเนชั่นอาสา เนชั่นทีวี

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการเนชั่นอาสา เนชั่นทีวี ในประเด็นการบริหารจัดการทุเรียน มาตรการทุเรียนอ่อน และการส่งต่อโมเดลการจัดการทุเรียนอ่อนภาคตะวันออกสู่การจัดการไม้ผลภาคใต้ ปี 2566 ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร” ณ ห้องศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อใช้ในงานแถลงข่าวในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ โครงการวิจัยฯ ดังกล่าว เพื่อขยายผลเทคโนโลยีการผลิตและใช้แหนแดงสู่เกษตรกร ให้เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) สามารถผลิตและใช้ประโยชน์จากแหนแดงได้ และให้ ศดปช.เป็นต้นแบบการผลิตและขยายผลการใช้แหนแดงไปสู่ชุมชนต่อไป

เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร” ณ ห้องศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อใช้ในงานแถลงข่าวในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ โครงการวิจัยฯ ดังกล่าว เพื่อขยายผลเทคโนโลยีการผลิตและใช้แหนแดงสู่เกษตรกร ให้เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) สามารถผลิตและใช้ประโยชน์จากแหนแดงได้ และให้ ศดปช.เป็นต้นแบบการผลิตและขยายผลการใช้แหนแดงไปสู่ชุมชนต่อไป ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร”

บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร”

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร” เพื่อเผยแพร่ข่าวโทรทัศน์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี รายการข่าวเช้าหัวเขียว ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับโรงเรียนเกษตรกร (Farmer Field School : FFS) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่นำมาใช้ในการส่งเสริมการเกษตรให้เกษตรกรร่วมกันคิดวิเคราะห์ ประมวลผล แก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนร่วมกัน เริ่มตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี คุ้มค่ากับการลงทุน ปลอดภัยต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการเกษตรใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรสู่เกษตรกร เพื่อเปลี่ยนเกษตรกรจากผู้รับเป็นผู้ยอมรับวิธีการและเทคโนโลยีด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริง ทดลองทำเอง นำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวเกษตรกรเอง จนสามารถขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ด้วยกันเอง ในปี 2566 มีการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกร จำนวน 79 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย พืชผัก 32 แห่ง ข้าว 24 แห่ง ไม้ผล 15 แห่ง พืชไร่ 5 แห่ง ไม้ยืนต้น 2 แห่ง และไม้้ดอก 1 แห่ง จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรมาขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรด้านการจัดการศัตรูพืช ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านการผลิตข้าว ไม้ผล และพืชผัก เพื่อต้องการให้้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหา ด้านศัตรูพืช และจัดการผลผลิตพืชให้มีคุณภาพดี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามความต้องการของตนเอง และขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ในพื้นที่่ใกล้เคียงต่อไปได้ ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร