ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

ขอเชิญร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

รู้หรือไม่ ? ถ้ารู้จัก “ดิน” ดีกว่าใคร จะมีชัย “ในการปลูก” ไปกว่าครึ่ง จันทร์นี้เลยอยากจะชวนทุกคน มาอ่านเรื่องราวของดินและปุ๋ย เนื่องจากการผลิตพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุ้มค่าต่อการลงทุนนั้น ต้องรู้จักธรรมชาติของดินในพื้นที่ปลูกของตนเองก่อน เกษตรกรจึงจะสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ 1. รู้จักดินดีหรือยัง? คลิกอ่าน :

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น.

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกอบพระราชพิธีพืชมงคล เมื่อเสด็จขึ้นสู่พระอุโบสถแล้ว ทรงจุดธูปเทียนบูชา พระมณีรัตนปฏิมากรณ์และพระพุทธรูปที่สำคัญ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ทรงพระสุหร่าย ถวายดอกไม้บูชาพระคัณธารราษฎร์ ทรงอธิษฐาน เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิม พระราชทาน
พระธำมรงค์และพระแสงปฏัก แก่พระยาแรกนา นาย ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในเช้าวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ต่อจากนั้น ทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม และทรงเจิมเทพีทั้ง ๔ ตามลำดับ ซึ่งเทพีในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ เป็นข้าราชการสตรีโสด ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยคู่หาบทองได้แก่

นางสาวนันทินี ทองคงเหย้า
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
กรมส่งเสริมการเกษตร

นางสาวฉมาพันธ์ สุพรมอินทร์
นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

และคู่หาบเงินได้แก่

นางสาวพรพิมล ศิริการ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
กรมส่งเสริมการเกษตร

นางสาวนันทวัน สุวรรณสถิตย์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ
กรมชลประทาน

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงประเคน จตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ทรงหลั่งทักศิโณธก เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ

พระยาแรกนาขวัญและเทพี ออกจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังท้องสนามหลวง เมื่อไปถึง พระยาแรกนาขวัญ ล้างมือในภาชนะ
ที่จัดเตรียมไว้ เสร็จแล้ว คนเลี้ยงพระโค จะเอาน้ำล้างมือ ป้อนพระโค จากนั้นพระยาแรกนาขวัญ เจิมพระโค พระยาแรกนาขวัญและเทพี ทำความคุ้นเคยกับพระโคแล้ว เป็นอันเสร็จพิธี

ขอบคุณภาพ/ข่าวจาก
นายอภิสิทธิ์ ลือพักตร์ ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

พระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคลพระราชพิธีพืชมงคล