ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยไฟในมะม่วง (Chilli thrips) ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด *ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง พบในดินลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่าง ๆ และมนุษย์ สามารถทำให้เกิดโรคในแมลงได้หลายชนิด การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมตาไรเซียมเมื่อสปอร์ของเชื้อราเมตาไรเซียมสัมผัสหรือติดไปกับตัว ในสภาพความชื้นสูง เชื้อราจะงอกเป็นเส้นใยและแทงทะลุผ่านผนังลำตัวแมลงและเจริญเพิ่มปริมาณภายในลำตัวแมลง ทำให้แมลงเคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร และตายภายใน 7-9

ปุ๋ยแคลเซียมในพืช (Calcium) แคลเซียมไอออน  (Ca2+) บทบาทของแคลเซียมในพืช อาการเมื่อพืชขาดแคลเซียม แหล่งของแคลเซียมที่ใช้ในการเกษตร 1.แคลเซียมไนเตรท (Ca(NO3)2) 2.แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) **เคล็ดลับ : ควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้แคลเซียม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบำรุงพืช เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีนาคม ; 2568

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้ง” เคล็ดไม่ลับ!! การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นให้ผ่านช่วงหน้าแล้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช รวมถึงการใส่ปุ๋ย ต้องจัดการอย่างไร วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM15ct 10 พืชใช้น้ำน้อยปลูกได้ในฤดูแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM1fR7 เข้าดูเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/3Vc44if

เตรียมความพร้อมก่อนปลูกไม้ผล 1.เลือกชนิดไม้ผลที่จะปลูก 2.เลือกพันธุ์ที่ได้เปรียบทางการตลาดเก็บเกี่ยวก่อนหรือหลังพันธุ์อื่น ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ 3.เลือกกิ่งพันธุ์เลือกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงจากแหล่งที่เชื่อถือได้, อายุไม่เกิน 1 ปี กรณีเป็นกิ่งเสียบหรือกิ่งทาบ รอยประสานของแผลต้องเชื่อมสนิทกันดี, กรณีใช้เป็นต้นตอควรเป็นต้นตอที่สามารถปรับตัวได้กว้างและทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี 4.ออกแบบผังการปลูกไม้ผล 5.การปลูกและดูแลรักษา เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยเทคโนโลยีรังสี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

โรคใบไหม้ (sunburn)

โรคใบไหม้ (sunburn) การทำลายใบทุเรียนเป็น ซันเบิร์น (sunburn) เกิดแผลอาการใบไหม้แห้ง เหมือนถูกแดดเผา ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรง ต้องการสังเคราะห์แสงและปรุงอาหารของต้นทุเรียน ทำให้การเจริญเติบโตชะงัก หากเป็นในช่วงติดดอกติดผลจะส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตทุเรียน สาเหตุหลักของอาการใบไหม้ Sunburn แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ขอเชิญเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2568 วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ เครือข่าย ศพก. เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปลูกข้าวนาปรัง…ระวังหนาว หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน หรือจัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง-ออกรวง ระยะตั้งท้อง-ออกรวงต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือส้มใบแห้งตายจากขอบใบ มักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง พันธุ์ข้าวที่คอรวงสั้น รวงข้าวส่วนนึงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธง ทำให้ไม่มีการผสมเกสรเกิดเมล็ดลีบ ออกรวงช้า รวงไม่สม่ำเสมอก้านช่อดอกหดสั้น เกสรตัวผู้เป็นหมัน ทำให้เมล็ดไม่เต็ม ปลายรวงลีบฝ่อ ระยะกล้า-แตกกอเมล็ดข้าวงอกช้า การเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย ไม่แตกกอ ซีดเหลือง ใบมีสีเหลือง

เรียนฟรี ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดรับสมัครโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” รอบใหม่ ประจำปี 2568 ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง


การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลดและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าว

การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลด

การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือ จากฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก เกิดน้ำท่วมฉับพลับ หรือเกิดจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเสียหาย โดยขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของข้าว ความลึกของน้ำ และระยะเวลาการท่วมขัง

การจัดการนาข้าว

  1. กรณีแปลงนาเกิดน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลาไม่นาน น้ำสูงไม่ถึงยอดข้าว และต้นข้าวยังไม่ตาย ให้รีบระบายน้ำออกจากแปลง ให้เหลือ 5-10 เซนติเมตร และฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลด
  2. กรณีแปลงนาที่ต้นข้าวยังเขียวอยู่เกิน 3 วัน และพบว่าต้นข้าวในนามีสีเขียวเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรยังไม่ต้องใส่ปุ๋ย แต่ให้หมั่นสำรวจโรคและแมลง ควรฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  3. กรณีต้นข้าวในนาเริ่มมีอาการสีเหลืองที่ใบให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นข้าว (ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นข้าวเกิดโรคได้)
  4. กรณีแปลงนาข้าวที่ออกรวง ให้เร่งระบายน้ำจนแห้งและห้ามใส่ปุ๋ย เพราะจะทำให้ดินมีความร้อน ต้นข้าวจะตายง่ายขึ้น เกษตรกรต้องหมั่นสำรวจโรคและแมลงอยู่เสมอ
  5. กรณีข้าวอยู่ในระยะสุกแก่ ให้เร่งทำการเก็บเกี่ยว และตากข้าวให้แห้งโดยเร็ว เพื่อลดความชื้นของเมล็ด
  6. กรณีนาข้าวเสียหายทั้งหมด จำเป็นต้องปลูกใหม่ แนะนำให้ไถกลบหมักฟางข้าว และเศษวัชพืชอย่างน้อย 7 วัน แล้วไถกลบอีกครั้ง และใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น สารสกัดสะเดา เชื้อราไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียบาซิลลัส ทรูริงเยงซีส (BT) ในแปลง

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

ใช้ควบคุมโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราสำหรับนาข้าว มีอัตราการใช้ดังนี้

  • เตรียมเมล็ดพันธุ์ แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำเปล่า 1 คืน จากนั้นแช่ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร นาน 30 นาที ยกขึ้นบ่มข้าวต่ออีก 1 คืน จึงนำไปหว่านลงแปลง
  • อายุข้าว 20-30 วัน ใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดพร้อมกับการปล่อยน้ำในนาข้าวอัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่
  • อายุข้าว 60-70 วัน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้ทั่วแปลงนาอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร
  • อายุข้าว 90 วัน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้ทั่วแปลงนาอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร
  • อายุข้าว 100 วัน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้ทั่วแปลงนาอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร

เรียบเรียง : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่

การฟื้นฟูนาข้าวหลังน้ำลดและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าว
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/08/ฟื้นฟูข้าวหลังน้ำลด.jpg