ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว


อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมและการดูแลฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด

อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วม

ดอกและผล
ต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมจะเกิดสภาวะเครียด กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอทีลีนในปริมาณสูงกว่าปกติ ทำให้ต้นไม้ทิ้งดอกใบและผล โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ระบบราก
รากขาดออกซิเจน เนื่องจากน้ำจะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่างของอากาศที่มีอยู่ในดิน ส่งผลต่อการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น

ต้นไม้จะสร้างรูเปิดขึ้น ซึ่งมักจะสร้างอยู่ตรงกลางส่วนของลำต้นบริเวณเหนือผิวน้ำที่ท่วมขังเพียงเล็กน้อย เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงราก ถ้าต้นไม้มีการสร้างรูเปิดมาก ก็จะยิ่งทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดมากเท่านั้น

ใบพืช
ใบเหลือง มักจะเกิดกับใบแก่หรือใบที่อยู่ส่วนโคนของกิ่งในแต่ละกิ่งย่อย และเหลืองเข้มมากขึ้น ส่วนอาการซีดเหลืองมักจะพบในต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบอาการใบลู่หรือห้อยลงอีกด้วย

การปรับปรุงสภาพของดินโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน เช่น ไฟทอปธอรา ไรซอกโทเนีย พิเทียม สเคลอโรเทียม ฟิวซาเรียม ฯลฯ และยังทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้ดี

เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่

อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมและการดูแลฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/09/ฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด.jpg