มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร
1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม
- จัดทำฐานข้อมูล รวบรวมข้อมูลการเพาะปลูกพืช เพื่อวางแผนการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและพื้นที่เสี่ยงการเผาไหม้
- ใช้ข้อมูลจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียมในการติดตาม ป้องปรามและประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้
2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ หรือแปรรูปวัสดุเหลือใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า
- ร่วมมือกับโรงงานแปรรูปวัสดุเหลือใช้เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำเศษวัสดุมาขายหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
- ส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียนหรือพืชมูลค่าสูง ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ข้าว อ้อย มาเป็นพืชหมุนเวียน หรือพืชมูลค่าสูง เช่น ถั่ว หรือพืชสด เพื่อลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ
- สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรที่เลิกเผา ด้วยการสนับสนุนการรับซื้อผลผลิต หรือการจัดการเศษวัสดุในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5.มาตรการไฟจำเป็น
- ควบคุมและบริหารจัดการการเผา การขออนุญาตเผาตามความจำเป็น (ตามข้อกำหนดและมาตรการของแต่ละจังหวัด)
- ใช้ระบบ “Burn Check” หรือช่องทางกระบวนการอื่น ๆ ตามมาตรการของจังหวัดนั้น ๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถขออนุญาตการเผาอย่างถูกต้อง
6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้
- สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เกษตรกรผ่านสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และวิธีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สร้างรายได้เพิ่ม เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ ขายเป็นเชชื้อเพลิงชีวมวล ทำไบโอชาร์ แปรรูปเป็นสินค้าเพิ่มมูลค่า