ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ผักปลูกง่ายได้กินใน 60 วัน 4 วัน : ถั่วงอก 7 วัน : เห็ดนางฟ้า ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนทานตะวัน 30 วัน : ผักบุ้ง โหระพา แมงลัก กะเพรา สะระแหน่ 40

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี


ยาร้อน ยาเย็น ดูไม่เป็น..ทำไงดี..?

เกษตรกรต้องรู้ >>> ฉีดผิด ดอกร่วง ผลร่วง ยอดหงิก ใบไหม้ หายนะมาเยือน เคยได้ยินกันไหมครับว่ายาเคมีฉีดแมลง ฉีดโรคพืช หรือสารเคมีทางการเกษตรนั้น มีทั้งยาร้อนและยาเย็น

เกษตรกรอย่างเรา เลยเริ่มสงสัย ???
ตกลง #ยาร้อนยาเย็นมันเป็นอย่างไร? #แตกต่างกันตรงไหน? และที่สำคัญ #เลือกใช้อย่างไรดี ?
มาทำความเข้าใจกันง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ…นะครับ

>>>[ #ยาร้อน ] ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่ามันร้อน นั่นแสดงว่าเมื่อฉีดพ่นไปแล้ว…จะมีอัตราความเป็นพิษต่อพืชค่อนข้างสูง….โดยเฉพาะส่วนที่เปราะบาง เช่น ดอก และใบอ่อน จะทำให้ดอกหลุดร่วง ยอดจะเหี่ยวเฉา หงิกงอ ใบไหม้แล้วก็หลุดร่วง หรือในช่วงระยะวิกฤติของพืช เช่นอยู่ในระยะตั้งท้อง ออกดอก ติดผลอ่อน หรือช่วงแล้งพืชขาดน้ำ ก็จะเป็นพิษต่อพืชเช่นกัน โดย “ยาร้อน” จะเติมสารอิมัลซิไฟเออร์ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายน้ำมันเบนซีนเข้าไป (ทำหน้าที่ให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้ากันได้โดยไม่แยกชั้น) เพื่อให้สารเคมีที่ไม่ละลายน้ำสามารถละลายเข้ากันกับน้ำได้ ดังนั้นเวลาเราผสมสารเคมีสูตรนี้จะเห็นน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้สามารถสังเกตในตัวย่อของสูตรจะมีตัว E หรือ O เช่น EC , EW , ME , OD แต่สารสูตรนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นยาร้อนเสมอไป บางบริษัทก็ใช้ตัวทำลายที่ได้มาจากการสกัดน้ำมันจากพืช ทำให้ปลอดภัยต่อพืชสูง แต่ก็ส่งผลให้ราคาสูตรนี้สูงขึ้นตามไปด้วย(ที่หลายท่านสงสัยว่ายาตัวเดียวกัน สูตรเหมือนกัน แต่ทำไมราคาถึงต่างกันนั่นเอง)


>>>ส่วน [#ยาเย็น ] ชื่อก็บอกชัดเจนมันต้อง “เย็น”…คุณสมบัติตรงกันข้ามกับยาร้อน…ดังนั้นเมื่อฉีดพ่นเข้าไปแล้วอัตราความเป็นพิษต่อพืชต่ำ จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบกับดอก ผล และใบอ่อนของพืช…ตัวย่อของสูตรนี้ เช่น SC , SL , SG , SP , WP , WG แต่ “ยาเย็น” ไม่ได้หมายความว่าไม่เกิดความเป็นพิษต่อพืช แต่เป็นพิษค่อนข้างต่ำ และอาจเกิดได้ถ้าใช้ในอัตราสูงกว่าคำแนะนำครับ และต้องระวังให้ดี…สำหรับเกษตรกรที่ใช้วิธีการจำชื่อยาแล้วไปซื้อ….อย่าลืมว่า…ยาตัวเดียวกันจะมีทั้งสูตรร้อนและสูตรเย็น…ดังนั้นควรศึกษาหรืออ่านฉลากก่อนใช้ให้เข้าใจและถ้ายังสงสัยก็สอบถามเจ้าของร้านหรือผู้รู้ก่อนนะครับ

ยาร้อนยาเย็น