ราแป้งราดำมะม่วง
เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae
พบอาการที่ช่อดอก พบเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ขึ้นฟูตามก้านช่อดอก ทำให้ดอกมีลักษณะช้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อนต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำ แห้งและหลุดร่วงหากติดผลจะทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ส่วนอาการที่ใบจะพบจุดแผลสีเหลือง จะพบเชื้อราเป้นผงสีขาวคล้ายแป้งขึ้นปกคลุมผิวใบ อาการรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา และใบบิดเบี้ยวผิดรูป
แนวทางการป้องกัน
- หมั่นสำรวจแปลงมะม่วงอย่างสม่ำเสมอ
- หากพบอาการของโรคราแป้ง ให้พ่นสารป้องกันโรคพืช ดังนี้
- คาร์เบนดาซิม 50% SC 10-20 มล.
- บีโนมิล 50% WP 6-10 กรัม
- ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% WG
- ซัลเฟอร์ 80% WG 20 กรัม
*อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร
** ไม่แนะนำให้พ่นซัลเฟอร์ตอนแดดจัด เพราะทำให้เกิดอาการไหม้ได้
โรคราดำ
เกิดจากเชื้อรา Capnodium sp. และ Mesiola sp.
พบคราบราสีดำตามส่วนของลำต้น ใบยอดและช่อดอก ทำให้ช่อดอกบานช้าเหี่ยวและหลุดร่วงได้ ไม่ติดผล อาการที่ผล ทำให้ผลเหี่ยวและหลุดร่วง
** คราบราดำเกิดจากมูลหวานของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยหรือเพลี้ยจักจั่น
แนวทางการป้องกัน
- หมั่นสำรวจแปลงมะม่วงอย่างสม่ำเสมอ
- พ่นน้ำเปล่าล้างสารเหนียวและคราบราดำ
- พ่นสารกำจัดแมลงพาหนะของโรค โดยใช้ชีวภัณฑ์บิวเวอเรีย บัสเซียน่า อัตราเชื้อสด 200 กรัม (1 ถุง) ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากจำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำดังนี้
- แลมบ์ดา ไซฮาโลทริน 2.5% EC 20 มล.
- คาร์บาริล 85% WP 50-60 กรัม
- อิมิดาคลอพริด 10% SL 10 มล.
- ไทอะมีทอกแซม 25% WG 2-4 กรัม
- มาลาไทออน 83% EC 30-40 มล.
- ปิโตรเลียมออยล์ 83.9% EC 25-35 มล.
- ไวท์ออยล์ 67% EC 25-35 มล.
ที่มา/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร