แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในมันสำปะหลัง
เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง มีสภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง
ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ ต่อมาขยายแผ่กว้างขึ้น ทำให้หน้าใบทั้งหมดมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ หากระบาดรุนแรง ใบร่วงหลุดจากต้น
หากการระบาดไม่รุนแรง เก็บใบมันสำปะหลังที่พบไร ไปเผาทำลาย กรณีที่มีการระบาดรุนแรง ชนิดและอัตราของสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด ดังนี้
- ไพริดาเบน (pyridaben) 20% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- เฟนบูทาติน ออกไซด์ (fenbutatin oxide) 55% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
- สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) 24% เอสซี อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
- เตตราไดฟอน (tetradifon) 7.25% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
- อามีทราช (amitraz) 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โทร. 0 3726 9107
ข้อมูล ; เดือนมกราคม 2568
