ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

โรคแส้ดำอ้อย

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล


หนอนกระทู้ผัก (common cutworm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lipidoptera

วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน

  • ระยะไข่ 3-4 วัน
  • ระยะหนอน 10-15 วัน
  • ระยะดักแด้ 7-10 วัน
  • ระยะตัวเต็มวัย 5-10 วัน

ลักษณะการทำลาย
เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ หรือใต้ดิน

วิธีการป้องกันกำจัด

การเขตกรรม

  • ไถพรวนดิน ตากดินไว้อย่างน้อย 7-14 วัน ก่อนปลูกพืชฤดูกาลถัดไป และเก็บเสษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้ และลดแหล่งอาหารของหนอนกระทู้ผัก
  • ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน ขนาด 16 mesh หรือปลูกผักกางมุ้ง

การใช้วิธีกล

  • เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย จะสามารถลดการระบาดของหนอนกระทู้ผักได้

การใช้สารเคมี
เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามอัตราแนะนำ ได้แก่

  • chlorfenapyr 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • indoxacarb 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • flubendiamide 20% WG อัตรา 6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  • Chlorantraniliprole 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

การใช้ชีววิธี

ระยะหนอน

  • ใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร ในช่วงเย็น โดยฉีดพ่นทุก 15 วัน และฉีดพ่นให้สัมผัสตัวหนอนมากที่สุด
  • ใช้เชื้อบีที Bacillus thuringiensis เมื่อพบการระบาด ในอัตรา 60-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5 วัน กรณีระบาดรุนแรง ฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้น ฉีดพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดการระบาดลง
  • ใช้เชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับหนอนกระทู้ผัก ในอัตรา 40-50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ควรฉีดพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็ก กรณี ระบาดรุนแรง ฉีดพ่น อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน
  • ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) ในอัตรา 50 ล้านตัว ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน
  • แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต อัตราปล่อย 200 ตัวต่อไร่

ระยะดักแด้

  • ใช้เชื้อราเมตาไรเซียม ฉีดพ่นหรือใส่ทางดิน อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร

เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

หนอนกระทู้ผัก