หนอนกอข้าว
ลักษณะการทำลาย
- ทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็ก จนถึงระยะข้าวออกรวง
- ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนใบข้าว ไข่มีลักษณะเป็นเกล็ดวางซ้อนกันเป็นกลุ่ม ๆ ไข่มีสีขาวขุ่น ไม่มีขนปกคลุม ส่วนใหญ่พบอยู่ใต้ใบข้าว
- หนอนมีแถบสีน้ำตาล 5 แถบพาดตามยาวของลำตัว หัวและแผ่นอกปล้องแรกสีน้ำตาลอ่อน
- ระยะไข่นาน 4-10 วัน ระยะหนอนนาน 30-40 วัน ระยะดักแด้นาน 4-7 วัน พบแพร่กระจายทั่วไปในนาข้าว
- เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart)
- ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวง จะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก” (whitehead)