หนอนกอข้าว
หนอนกอข้าวที่พบทําลายข้าวในประเทศไทย มี 4 ชนิด ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน
1.หนอนกอสีครีม Scirpophaga incertulas (Walker) ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามปลายใบข้าว
2.หนอนกอแถบลาย Chilo suppressalis (Walker) ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนใบข้าว ส่วนใหญ่พบอยู่ ใต้ใบข้าว
3.หนอนกอแถบลายม่วง Chilo polychrysus (Meyrick) ตัวผู้มองดูคล้ายมีรูปตัว Y อยู่ตรงกลางปีก
4.หนอนกอสีชมพู Sesamia inferens (Walker) ตัวเมียวางไข่เรียงเป็นแถวระหว่างกาบใบ และลําต้น
ลักษณะการทําลาย และการระบาด
- ตัวหนอนจะเจาะเข้าทําลายกาบใบ ทําให้กาบใบมีสีเหลือง หรือสีน้ําตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการซ้ํา ๆ โดยจะพบการทําลายหลังจากหว่านข้าวแล้วประมาณ 1 เดือนเป็นต้นไป เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน
- เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลําต้น ทําให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบ และยอดที่ถูก ทําลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทําลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทําให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว”
- ถ้าหนอนเข้าทําลายระยะข้าวตั้งท้อง หรือหลังจากข้าวออกรวงจะทําให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง
รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่