ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.


หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer)

หนอนกออ้อย ทำลายอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะอ้อยแตกกอทั้งอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ ระบาดรุนแรงในสภาพที่อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ ภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนทิ้งช่วง

หนอนกออ้อย ที่สำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด คือ

  • หนอนกอลายจุดเล็ก
  • หนอนกอสีขาว
  • หนอนกอสีชมพู

วิธีป้องกันกำจัด

  1. ในแหล่งชลประทาน ควรให้น้ำเพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย
  2. ปล่อยแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมมา อัตรา 30,000 ตัว/ไร่/ครั้ง ปล่อยติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกอ
  3. เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ควรพ่นสารฆ่าแมลง เดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน
  4. เมื่อพบการระบาดของหนอนกออ้อย และทำให้อ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ พ่นสารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นโดยใช้น้ำ 60 ลิตรต่อไร่

เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer)
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/07/หนอนกออ้อย.jpghttps://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/07/หนอนกออ้อย.jpg