หนอนชอนใบมังคุด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acrocercops sp. และ Phyllocnistis sp.
ลักษณะการทำลาย
Acrocercops sp. ทำลายใบอ่อนที่มีอายุมาก โดยตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะชอนไชกัดกินและขับถ่าย อยู่ในระหว่างผิวใบ รอยทำลายมีลักษณะแผ่กว้างเป็นแผ่นสีดำ เนื่องจากเนื้อเยื่อระหว่างผิวใบตรงส่วนนั้นถูกทำลาย
Phyllocnistis sp. ทำลายใบอ่อนมังคุดที่มีอายุน้อย พบการระบาดรุนแรงมากในช่วงที่มังคุดแตกใบอ่อน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะชอนไชเป็นทางยาว หรือสร้างเป็นอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายในรอยทำลายของหนอนชอนใบ ใบมังคุดที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็นบิดเบี้ยว
รูปร่างลักษณะ
- หนอน : ตัวหนอนกัดกินอยู่ในผิวใบระยะหนอน 15-16 วัน
- ดักแด้ : ระยะดักแด้ 4-8 วัน เข้าดักแด้ใกล้ ๆ ขอบใบ
- ตัวเต็มวัย : เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก วางไข่เป็นฟองเดี่ยวทางด้านหลังใบติดกับเส้นกลางใบ ระยะไข่ 3-5 วัน
แนวทางแก้ไข/ป้องกัน
- หมั่นสำรวจแปลง
- อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
2.1 ตัวห้ำ เช่น แมลงช้างปีกใส มด
2.2 ตัวเบียน เช่น Ageniaspis citricola, Cirrospilus ingenuus Gahan, Kratoysma sp., Elasmus sp., Eurytoma sp., Quodrastichus sp.
- การใช้สารเคมี (หากมีความรุนแรงมากกว่า 30%)
3.1 กลุ่ม 1A คาร์บาเมท เช่น คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน
3.2 สารกลุ่ม 15 เช่น ฟลูเฟนนอกซูรอน 5% EC อัตรา 6 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
3.3 สารกลุ่ม 4A เช่น อิมิดาโครพริด 10% SL อัตรา 8 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบพ่นให้ทั่วทั้งด้านหน้าใบและหลังใบ ถ้ายังสำรวจพบการระบาดของหนอนชอนใบให้พ่นช้ำ
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี