ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

ปลูกแตงโมหลังทำนา สร้างอาชีพ การเตรียมดินไถดะตากดิน 7 วัน และไถพรวนยกร่อง ระยะปลูก 40-50 เซนติเมตร ระยะแถว 3 เมตร ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ พ่นไตรโคเดอร์มา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนมกราคม 2568 ฟรี วันที่ 7 มกราคม 2568วันที่ 8 มกราคม 2568วันที่ 9 มกราคม 2568 หลักสูตร พืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ได้แก่1.การผลิตต้นพันธุ์ พริกเดือยไก่

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มีวิธีการหรือขั้นตอนหลากหลายตามลักษณะสกุลหรือพันธุ์ที่ต้องการ หากเกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์ใด จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์นั้น ๆ ก่อน โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 2 เอกสาร ด้านล่าง สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกรคลิกอ่าน : https://bit.ly/40rr54E การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบมืออาชีพคลิกอ่าน : https://bit.ly/3NXdDPU

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

ปลูกผักสไตส์คนเมือง ตอนที่ 2 ปลูกผักในภาชนะ

ลองมาใช้พื้นที่ระเบียงในคอนโดฯ หรือบ้าน🏢ให้เป็นประโยชน์ด้วยการการปลูกผักในภาชนะกันค่ะ👩‍🌾 นอกจากประหยัดพื้นที่ในการปลูกและสะดวกต่อการดูแลรักษาแล้ว ยังสามารถนำไปวางตกแต่ง หรือจัดเป็นสวนประดับได้อีกด้วยนะคะ🌿 ไว้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากสุขภาพดีได้ลองนำไปใช้กันค่ะ💁‍♀

ปลูกผักได้แม้ในพื้นที่จำกัด

แม้พื้นที่ในบ้าน หรือคอนโดฯ จะคับแคบไม่เหมาะกับการเพาะปลูก 🏘 แต่ก็สามารถปลูกผักสวนครัวได้นะคะ 🥬 ทั้งดูแลง่าย ประหยัดพื้นที่ โยกย้ายไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้สะดวก 🌞 แถมเอาไว้ชื่นชมตกแต่งบ้านได้อีกด้วย บอกเลยว่าวิธีการง่ายมากเลยทีเดียวค่ะ👌

ปลูกผักสไตส์คนเมือง ตอนที่ 1 การเตรียมแปลงผัก

ในยุคที่ข้าวยากหน้ากาก(mask)แพง แถมหายากอีก .. เราก็คงต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตกันใหม่เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากมีพื้นที่ว่างอยู่บ้าง ลองหันมาปลูกพืชผักไว้กินเองในบ้าน ไม่ต้องเสียเงินซื้อให้สิ้นเปลือง แต่!!! ก่อนจะลงมือปลูกพืชผักนั้น ขั้นตอนแรกต้องเริ่มต้นจากการเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมกับชนิดของพืชผักและลักษณะการปลูกกันเสียก่อน เพราะจะผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตของพืชผักนั้น ๆ ถ้าพร้อมแล้วมาเรียนรู้ขั้นตอนกันเลยค่ะ

ชาร์ตแบตให้ตัวเองด้วยพลังงานสีเขียว

การใช้ชีวิตในปัจจุบันเต็มไปด้วยมลภาวะและความเครียด 😫 ดังนั้น เรามาช่วยกันเติมพลังให้ตัวเองและเมืองของเรา ด้วยการสร้างพลังงานสีเขียวไว้ในบริเวณที่พัก ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยสร้างความผ่อนคลายในชีวิต และทำให้เราใกล้ชิดธรรมชาติได้มากขึ้น สำหรับรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นมาติดตามกันเลยค่ะ ☺️☺️

ตำรับอาหารจากเห็ด

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เอกสารคำแนะนำที่ 7/2559 ตำรับอาหารจากเห็ด เรียบเรียง : กลุ่มพัฒนาแม่บ้านเกษตรกรและเคหกิจเกษตร กองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มา : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร