ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในปีการผลิต 2567/68 ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน และที่สำคัญต้องได้รับการยืนยันข้อมูลในระบบทะเบียนเกษตรกร เรียบร้อยแล้ว เกษตรกรจึงจะได้รับสิทธิตามโครงการของรัฐบาลได้  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านหรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ขอเชิญเกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​  ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย) กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ได้แก่ คลินิกดิน,​

เตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกความชื้นในอากาศสูง สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้นขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในสวน หากมีน้ำท่วมควรรีบระบายออก เมื่อพบทุเรียนมีอาการใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก บริเวณลำต้นพบคราบน้ำบนผิวเปลือก รากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะน่าในการป้องกันกำจัดได้ที่เจ้าหน้าที่ส่านักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora Palmivora

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระดับประเทศ วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ขอเชิญชวนเกษตรกร ร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ” ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ณ ศาลาบ้านปากลาง ม.3 ต.ตะกุกใต้ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี– กิจกรรมความรู้ด้านการเกษตร– การประกวดผลผลิตทางการเกษตร– การเสวนาด้านการเกษตร เรื่อง “การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน”– การฝึกอาชีพระยะสั้นเสริมรายได้– การออกร้านของเกษตรกรและห้างร้านเอกชนในพื้นที่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทย มีรายงานพบ 4 ชนิด คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู ลักษณะการทำลายและการระบาด หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกัน โดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำ ๆ เมื่อฉีกกาบใบจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น

โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 ณ วัดราษฎรบำรุง หมู่ที่ 1 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินการในลักษณะบูรณาการการทำงานระหว่าง นักวิชาการเกษตร ของหน่วยงานต่างๆ ในแต่ละสาขาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง

อย่าหลงเชื่อ มิจฉาชีพ แอบอ้าง รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ไม่มีนโยบายในการโทรแจ้ง หรือไลน์หาเกษตรกรโดยตรง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

เตือนอีกครั้ง  อย่าหลงเชื่อ มิจฉาชีพ แอบอ้าง รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรกรมส่งเสริมการเกษตร ไม่มีนโยบายในการโทรแจ้ง หรือไลน์หาเกษตรกรโดยตรง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านหรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

เกษตรกรปลูกข้าวแล้ว 15 วัน อย่าลืมมาขึ้นทะเบียนและ ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกันนะ  วิธีขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร1. แจ้งกับเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือผ่านผู้นำชุมชน หรือตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)2. แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ด้วยตนเอง ผ่าน e-Form (https://efarmer.doae.go.th)3. แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน Farmbook (เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

โรคใบด่างมันสำปะหลัง

โรคใบด่างมันสำปะหลัง แผ่นพับที่ 6/2563 เรื่อง โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disese ; CMD) เรียบเรียง : กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ผลิตโดย : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสาน

การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสาน แผ่นพับที่ 4/2563 เรื่อง การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสาน ความสำคัญของศัตรูมะพร้าวปัจจุบันมีศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดและเป็นปัญหาในการปลูกมะพร้าว จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว และด้วงงวงมะพร้าว สำหรับการจัดการศัตรูมะพร้าว เพื่อให้ได้ผลดีและไม่ให้กลับมาระบาดใหม่ ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสาน ตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เพื่อลดปริมาณศัตร๔มะพร้าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ผลิตโดย : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

โรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพารา

โรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพารา แผ่นพับที่ 3/2563 เรื่อง โรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพารา เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ผลิตโดย : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

โรค-แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ และการป้องกันกำจัด

โรค-แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ และการป้องกันกำจัด

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. โรค-แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ และการป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ที่มา : กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร