ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยไฟในมะม่วง (Chilli thrips) ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด *ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง พบในดินลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่าง ๆ และมนุษย์ สามารถทำให้เกิดโรคในแมลงได้หลายชนิด การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมตาไรเซียมเมื่อสปอร์ของเชื้อราเมตาไรเซียมสัมผัสหรือติดไปกับตัว ในสภาพความชื้นสูง เชื้อราจะงอกเป็นเส้นใยและแทงทะลุผ่านผนังลำตัวแมลงและเจริญเพิ่มปริมาณภายในลำตัวแมลง ทำให้แมลงเคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร และตายภายใน 7-9

ปุ๋ยแคลเซียมในพืช (Calcium) แคลเซียมไอออน  (Ca2+) บทบาทของแคลเซียมในพืช อาการเมื่อพืชขาดแคลเซียม แหล่งของแคลเซียมที่ใช้ในการเกษตร 1.แคลเซียมไนเตรท (Ca(NO3)2) 2.แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) **เคล็ดลับ : ควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้แคลเซียม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบำรุงพืช เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีนาคม ; 2568

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้ง” เคล็ดไม่ลับ!! การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นให้ผ่านช่วงหน้าแล้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช รวมถึงการใส่ปุ๋ย ต้องจัดการอย่างไร วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM15ct 10 พืชใช้น้ำน้อยปลูกได้ในฤดูแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM1fR7 เข้าดูเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/3Vc44if

เตรียมความพร้อมก่อนปลูกไม้ผล 1.เลือกชนิดไม้ผลที่จะปลูก 2.เลือกพันธุ์ที่ได้เปรียบทางการตลาดเก็บเกี่ยวก่อนหรือหลังพันธุ์อื่น ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ 3.เลือกกิ่งพันธุ์เลือกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงจากแหล่งที่เชื่อถือได้, อายุไม่เกิน 1 ปี กรณีเป็นกิ่งเสียบหรือกิ่งทาบ รอยประสานของแผลต้องเชื่อมสนิทกันดี, กรณีใช้เป็นต้นตอควรเป็นต้นตอที่สามารถปรับตัวได้กว้างและทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี 4.ออกแบบผังการปลูกไม้ผล 5.การปลูกและดูแลรักษา เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยเทคโนโลยีรังสี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

โรคใบไหม้ (sunburn)

โรคใบไหม้ (sunburn) การทำลายใบทุเรียนเป็น ซันเบิร์น (sunburn) เกิดแผลอาการใบไหม้แห้ง เหมือนถูกแดดเผา ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรง ต้องการสังเคราะห์แสงและปรุงอาหารของต้นทุเรียน ทำให้การเจริญเติบโตชะงัก หากเป็นในช่วงติดดอกติดผลจะส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตทุเรียน สาเหตุหลักของอาการใบไหม้ Sunburn แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ขอเชิญเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2568 วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ เครือข่าย ศพก. เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปลูกข้าวนาปรัง…ระวังหนาว หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน หรือจัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง-ออกรวง ระยะตั้งท้อง-ออกรวงต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือส้มใบแห้งตายจากขอบใบ มักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง พันธุ์ข้าวที่คอรวงสั้น รวงข้าวส่วนนึงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธง ทำให้ไม่มีการผสมเกสรเกิดเมล็ดลีบ ออกรวงช้า รวงไม่สม่ำเสมอก้านช่อดอกหดสั้น เกสรตัวผู้เป็นหมัน ทำให้เมล็ดไม่เต็ม ปลายรวงลีบฝ่อ ระยะกล้า-แตกกอเมล็ดข้าวงอกช้า การเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย ไม่แตกกอ ซีดเหลือง ใบมีสีเหลือง

เรียนฟรี ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดรับสมัครโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” รอบใหม่ ประจำปี 2568 ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง


หยุดเผาได้ 5 ดี

  1. อากาศดี
  2. สุขภาพดี
  3. ดินดี
  4. สิ่งแวดล้อมดี
  5. รายได้ดี

ผลกระทบจากการเผา

ด้านสุขภาพอนามัย
การเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต

  • ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และในกรณีที่ได้รับในปริมาณมมาก อาจหมดสติและเสียชีวิตได้
  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา และระบบทางเดินหายใจ เช่นลำคอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก
  • ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากการเผาสามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาจทำให้หลอดลมอักเสบเป็นโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพองหรือโรคมะเร็งปอดได้

ด้านการเกษตร

  • ทำลายดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม อินทรียวัตถุแร่ธาตุอาหารในดินต่ำลง โครงสร้างดินเสียหายกักเก็บน้ำได้น้อย ช่องว่างในดินลดลง
  • ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น “การเผาทำให้ต้นทุน การผลิตสูง ผลผลิตตกต่ำ”
  • ทำลายน้ำในดิน ทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศา ทำให้น้ำในดินระเหยสู่บรรยากาศเกิดการสูญเสียน้ำในดิน
  • ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ระบบนิเวศของดินไม่สมบูรณ์ เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น เกษตรกรจึงต้องมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกมากกว่าเดิมต้นทุนสูงขึ้น

ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ

  • ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล การเผาทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กไปปนเปื้อนกับไอน้ำในชั้นบรรยากาศ ทำให้ไอน้ำไม่บริสุทธิ์ ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นฝนตกลงมาได้
  • ทำให้โลกร้อน เกิดปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และน้ำท่วมขัง การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในที่โล่ง ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุลเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพ (Climate Change) ทำให้โลกร้อนขึ้น ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลน้ำท่วม ฝนแล้งเป็นเวลายาวนาน เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เกิดการสูญเสียด้านเศรษฐกิจ
  • อาจเป็นข้อกีดกันทางการค้า

ด้านกฎหมาย

  • หากผู้ใดทำการเผาอาจต้องระวังโทษตาม กฎหมายอาญามาตรา 218 และ 22 อาจจำคุก ไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท

จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

หยุดเผาได้ 5 ดี