ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

บทที่ 6 การนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ

บทที่ 6 การนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรกรปลอดการเผา”  บทที่ 6 การนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ “เศษวัสดุการเกษตรที่หลายคนคิดว่าไร้ค่า สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ได้ เช่น การนำเปลือกข้าวโพดนำมาหมักเป็นอาหารสำหรับโค หรือการอัดฟางข้าวเป็นก้อน เพื่อนำไปใช้เป็นอาคารโค กระบือ เป็นต้น” เอกสารประกอบการเรียน : https://doaenews.doae.go.th/wp-content/uploads/2023/11/บทที่-6.pdf ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร AM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

บทที่ 5 การนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาเป็นปัจจัยทางการผลิต

บทที่ 5 การนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาเป็นปัจจัยทางการผลิต

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรกรปลอดการเผา”  บทที่ 5 การนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาเป็นปัจจัยทางการผลิต “การนำเศษวัสดุการเกษตรที่เหลือทิ้งในแปลงมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เช่น นำมาทำปุ๋ยหมัก ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ เกษตรกรจะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้” เอกสารประกอบการเรียน : https://doaenews.doae.go.th/wp-content/uploads/2023/11/บทที่-5.pdf ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร AM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

บทที่ 4 หากเกษตรกรหยุดเผา แล้วให้ทำอย่างไร

บทที่ 4 หากเกษตรกรหยุดเผา แล้วให้ทำอย่างไร

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรกรปลอดการเผา”  บทที่ 4 หากเกษตรกรหยุดเผา แล้วให้ทำอย่างไร “ถ้าไม่สนับสนุนให้เผา แล้วจะให้ทำอย่างไร?” คงเป็นคำถามที่เกษตรกรหลายท่านสงสัยอยู่ไม่น้อย เพราะในการทำเกษตรในแต่ละครั้ง ย่อมทิ้งเศษซากทางการเกษตรไว้เสมอ เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว ใบอ้อย หรือใบข้าวโพด เป็นต้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงมีแนวทางการจัดการกับเศษซากที่เหลือจากการทำเกษตรเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำเศษซากดังกล่าวที่เกษตรกรบางรายอาจมองว่าไม่มีคุณค่ามาสร้างเป็นประโยชน์ให้แก่เกษตรกร เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้ ติดตามรับฟังได้ค่ะ” เอกสารประกอบการเรียน : https://doaenews.doae.go.th/wp-content/uploads/2023/11/บทที่-4.pdf ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร AM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

บทที่ 3 ผลกระทบจากการเผาในพื้นที่เกษตร

บทที่ 3 ผลกระทบจากการเผาในพื้นที่เกษตร

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรกรปลอดการเผา”  บทที่ 3 ผลกระทบจากการเผาในพื้นที่เกษตร “การเผาในพื้นที่เกษตรเป็นที่มาของปัญหาในหลายอย่าง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ ปัญหาด้านการทำเกษตร ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาด้านการทำเกษตร การเผาทำลายดิน การเผาทำลายน้ำในดิน การเผาทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน การเผาทำลายอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน รวมถึงข้อเสียด้านสุขภาพอนามัย และด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การเผาทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล การเผาทำให้โลกร้อน เกิดปัญหาฝนแล้ง และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว” เอกสารประกอบการเรียน : https://doaenews.doae.go.th/wp-content/uploads/2023/11/บทที่-3.pdf ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร AM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

บทที่ 2 ความผิดทางกฎหมายจาก “การเผาในพื้นที่เกษตร”

บทที่ 2 ความผิดทางกฎหมายจาก “การเผาในพื้นที่เกษตร”

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “เกษตรกรปลอดการเผา”  บทที่ 2 ความผิดทางกฎหมายจาก “การเผาในพื้นที่เกษตร“ “การเผาในพื้นที่การเกษตร เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาทางการเกษตรที่ตามมาอีกมากมาย ได้แก่ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ก่อให้เกิดฝุ่นละอองหมอกควัน ก๊าซพิษ เถ้า และเขม่าควัน ระบายลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหมอกควันปกคลุมประเทศไทย ในระยะยาวเกิดเป็นภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างแน่นอน ที่สำคัญอีกประการ คือมลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เป็นที่มาของการสูญเสียรายได้ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ เกษตรกรบางรายอาจยังไม่รู้ว่า หากทำการเผาจนเกิดอันตรายก็จะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย ซึ่งมีโทษทั้งจำและปรับ” เอกสารประกอบการเรียน : https://doaenews.doae.go.th/wp-content/uploads/2023/11/บทที่-2.pdf ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร AM 1386 KHz. / https://www.am1386.com