ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช (คลอโรฟิลล์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ส่งเสริมการดูดกินและนำพาฟอสฟอรัสขึ้นสู่ลำต้น ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน มีส่วนช่วยในการสร้างน้ำมันเมื่ออยู่ร่วมกับกำมะถัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์พืช เมื่อพืชขาดแมกนีเชียม ใบแก่ (ใบล่าง) เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบสีเขียวชัดเจนบนใบสีเหลืองคล้าย “ก้างปลา” อาการนี้เรียกว่า “ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ” หรือ “คลอโรซีส” (chlorosis)

โรคถอดฝักดาบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อราอาศัยอยู่ในฟางข้าว เมล็ดพันธุ์ หรือวัชพืชรอบ ๆ แปลง สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาด◾สภาพอากาศร้อนชื้น (แดดจัดในตอนเช้า ตอนเย็นฝนตก ฟ้าครึ้ม อากาศอบอ้าว) อุณหภูมิ 27-28 องศาเซลเซียส เชื้อราจะงอกจากสปอร์◾ปลูกต้นข้าวขึ้นหนาแน่น อากาศไม่ถ่ายเท อาการและการระบาด◾มักพบในข้าวอายุเกิน 15 วัน และระยะเริ่มแตกกอ◾ข้าวเป็นโรคจะต้นผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ

ข่าวดี สำหรับเกษตรกรจังหวัดพิจิตร ‼️ อบรมฟรี ‼️ ฝึกปฏิบัติจริง กับเครื่องยนต์จริงๆ ‼️ ประชาสัมพันธ์ เปิดรับสมัครเกษตรกรผู้สนใจ เข้ารับการฝึกอบรม การซ่อมแซมเครื่องยนต์การเกษตร หลักสูตรเน้นหนัก โดยทีมวิทยากรผู้จัด จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรอบรม 4 วัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงาน เกษตรจังหวัดพิจิตร

โรคใบขีดโปร่งแสง สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อยู่ในดิน น้ำ และวัชพืช– เชื้อสามารถแพร่ขยายได้หลังจากช่วงที่มีฝนตกและลมพัดแรง– ส่วนใหญ่พบการระบาดในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง– ข้าวพันธุ์ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ขาวดอกมะลิ 105 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 กข 41 กข 47 กข 49

เฝ้าระวัง! โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส CASSAVA MOSAIC VIRUS ; CMV การแพร่ระบาดเกิดจาก อาการใบมีลักษณะเป็นใบด่างเหลือง ใบหงิก เสียรูปทรง ลดรูป ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ตัน แคระแกร็น ส่งผลให้ผลผลิตลดลง กรณีติดโรคจากท่อนพันธุ์

ขอเชิญชวนเกษตรกรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อรักษาสิทธิ์ รับโอกาส และการช่วยเหลือจากภาครัฐ แจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรหลังจากทำการเพาะปลูกพืชแล้ว 15 วัน หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ให้แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้เมื่อทำการเพาะปลูกแล้ว 30 วัน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกปี เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน และเป็นข้อมูลการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร รวมถึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชและสนับสนุนโครงการมาตรการภาครัฐต่าง ๆ ช่องทางการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร แจ้งเจ้าหน้าที่ 2. ผ่านผู้นำชุมชนหรือตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรดำเนินการด้วยตนเอง

Ep.6 งานส่งเสริมการเกษตรกับศูนย์พิกุลทองฯ เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร Ep.6 เกษตรเขต 5 ขอเชิญติดตามรับชมรับฟัง FB Live #เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร  20 มิ.ย. 67 เวลา 10.00-10.40 น. นานาสาระ โดย วุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5

เอกสารวิชาการ การปลูกและการขยายพันธุ์มะนาวของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนทำความรู้จักกับ “คลินิกพืช” หน่วยบริการที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาศัตรูพืช และป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้อย่างตรงจุด รวมถึงหมอพืชและหมอพืชชุมชน บุคคลที่จะช่วยวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืช(เบื้องต้น) ให้แก่เกษตรกรได้ ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ Q&A คลินิกพืช วินิจฉัยอาการผิดปกติของพืช แก้ปัญหาศัตรูพืชตรงจุดคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/คลินิกพืช/ คลิกนิกพืชคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/คลินิกพืช-2/ มารู้จัก