ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มีวิธีการหรือขั้นตอนหลากหลายตามลักษณะสกุลหรือพันธุ์ที่ต้องการ หากเกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์ใด จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์นั้น ๆ ก่อน โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 2 เอกสาร ด้านล่าง สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกรคลิกอ่าน : https://bit.ly/40rr54E การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบมืออาชีพคลิกอ่าน : https://bit.ly/3NXdDPU

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

ระวัง หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ใน ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที๒. ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น๓. ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด๔. หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำ การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด IRAC กลุ่ม ๕๑. สารสไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารสไปนีโทแรม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๖๑. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๑๓๑. สารคลอร์ฟีนาเพอร์ ๑๐% เอสซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๑๕๑. สารลูเฟนนูรอน ๕% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๒๒๑. สารอินดอกซาคาร์บ ๑๕% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๑๘+๕๑. สารเมทอกซีฟีโนไซด์+สไปนีโทแรม ๓๐+๖% เอสซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๒๘๑. สารคลอแรนทรานิลิโพรล ๕.๑๗% เอสซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒.สารฟลูเบนไดอะไมด์ ๒๐% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร สารชีวภัณฑ์ IRAC กลุ่ม ๑๑๑. เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์ไอซาไว อัตรา ๘๐ กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์เคอร์สตากี้ อัตรา ๘๐ กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีhttps://www.facebook.com/100068761955050/posts/784307210538004/?mibextid=oFDknk&rdid=RV4pXhWZotg9JQjo

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟิโพรนิล 5%sc (กลุ่ม2b) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid02z8V7AsU2psmjaM8gNv6AWu3YepqmrbmwGahd56qqgwzXS3SQ2SvAXjmYbntuqzp9l

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช (คลอโรฟิลล์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ส่งเสริมการดูดกินและนำพาฟอสฟอรัสขึ้นสู่ลำต้น ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน มีส่วนช่วยในการสร้างน้ำมันเมื่ออยู่ร่วมกับกำมะถัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์พืช เมื่อพืชขาดแมกนีเชียม ใบแก่ (ใบล่าง) เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบสีเขียวชัดเจนบนใบสีเหลืองคล้าย “ก้างปลา” อาการนี้เรียกว่า “ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ” หรือ “คลอโรซีส” (chlorosis) อาการใบเหลือง จะเริ่มที่ใบแก่ที่สุดก่อนแล้วทยอยเหลืองขึ้นไปลำต้นส่วนบน แต่ใบบนจะไม่แสดงอาการนี้ ความสูงของต้นมักจะไม่ลดลงและใบจะไม่ผิดรูปร่าง การขาดแมกนีเซียม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในดินที่เป็นกรดจัดต่อมา เมื่อขาดแมกนีเซียมอย่างต่อเนื่อง ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตายในที่สุด ใบที่แตกออกมาใหม่จะมีขนาดเล็ก ขอบใบงอเข้าหากันและเปราะง่าย ง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช จากการสำรวจพื้นที่ ยังพบอาการขาดธาตุแมกนีเซียม โดยเกษตรกรแจ้งมาว่าพบอาการใบด่างสีเหลืองเขียว กลัวว่าจะเป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง จากการลงพื้นที่พบว่า อาการใบด่างที่พบนั้นเป็นอาการที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียม จึงได้แนะนำให้เกษตรกรให้แมกนีเซียม ปุ๋ยทางใบ ไปทางระบบน้ำ ทุก ๆ 14-21 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น หากเกษตรกรท่านไหน พบลักษณะอาการแปลก ๆ ในมันสำปะหลัง สามารถส่งรูปถ่ายมาขอคำปรึกษาในการดูแลรักษาได้ หรือสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ /กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือเกษตรตำบลในพื้นที่ของท่านได้เลยครับ ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid037FdJtKzM1VBFh6KMpW6yz9LwzjzeeiXDLsCUumnyoeemCB5AqENu4XnhtNHDHdxVl&id=100028983577766

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง คำแนะนำ :1.เมื่อพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ในแปลง ให้เก็บและนำมาทำลาย พร้อมกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลง2.ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร เช่นㆍ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรㆍ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หมายเหตุ* หากการระบาดของหนอนลดลงให้ควบคุมด้วยชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bt) อัตรา 80 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว 15 วันทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร จัดซื้อสารเคมีสนับสนุนโดยเร่งด่วน ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid026Xgma92wiBBm9MApYmWts27K3JsePAvCXhqRtyzh8pQ1gaoq5oQDxGiUpKQGHWfdl

จิ้งหรีดหนวดยาว

จิ้งหรีดหนวดยาว

จิ้งหรีดหนวดยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metioche vittaticolis รูปร่างลักษณะ ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช การใช้ประโยชน์ จิ้งหรีดหนวดยาว กินไข่ผีเสื้อและแมลงศัตรูพืชในนาข้าว