ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชิ้น ปี 2568 ปีแห่งการพัฒนาเกษตรกรไทยจะก้าวหน้า หากปรับตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศึกษาความต้องการในการเจริญเติบโตของพืช การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช ลดปัจจัยในการผลิต เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสาร ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง “กรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมเคียงข้างให้คำแนะนำในทุกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกษตรกรไทย

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ขอชวนพี่น้องเกษตรกรเตรียมต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2568 ตั้งแต่วันที่ 1- 30 มกราคม 2568 ทั้งนี้ หากวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ไม่มาต่อทะเบียนเป็นระยะเวลา 2 ปี ติดต่อกัน จะถูกเพิกถอนทะเบียน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 3 เอกสาร ด้านล่างค่ะ การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนคลิกอ่าน : https://bit.ly/4gfJdEg การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนhttps://bit.ly/3ORv0B6

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

มวนเพชฌฆาต

มวนเพชฌฆาต

มวนเพชฌฆาต ลักษณะการทำลาย มวนเพชฌฆาตทำลายศัตรูพืช (เหยื่อ) ได้หลายชนิด มวนเพชฌฆาตออกมาโชว์ตัวคอยกินหนอน

โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา

โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา

โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ภาพจาก : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0eqf8pfPKqY78BqngvCxjDXsvFK5vbmkYa1aXUjXbDKErYUP23wHduNK328v2Xp4Wl&id=100007822839207 โรคใบร่วงยางพารา เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryosa Chee หรือ P. palmivora (Butler) หากเกิดโรคจะมีลักษณะ ใบแก่ เกิดจุดแผลฉ่ำน้ำ ขนาดไม่แน่นอน บริเวณก้านใบมีรอยช้ำ จุดกึ่งกลางของรอยแผลช้ำ มีหยดน้ำยางเกาะอยู่ ใบย่อยหลุดร่วงจากก้านใบ ใบร่วงทั้งที่ยังมีสีเขียวสด หรือเหลือง หากเชื้อเข้าทำลายฝักจะเกิดอาการเน่า โดยอาจพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุม ฝักไม่แตก และไม่ร่วงหล่น สำหรับ โรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ Colletotrichum sp. ในอาการเริ่มแรก จะเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบ และด้านบนของใบบริเวณเดียวกันจะเป็นสีเหลืองลักษณะกลม ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้งสีน้ำตาลจนถึงขีดขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนมากกว่า 1 จุด อาจซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่ออาการรุนแรงจะเกิดใบเหลืองและร่วง การป้องกันกำจัด ขอแนะนำดังนี้ 1) ใส่ปุ๋ยบำรุงสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับต้นยางพารา เมื่อเกิดอาการใบเหลืองและร่วง ต้นยางจะสามารถสร้างใบใหม่ออกมาทดแทนใบยางที่ร่วงเนื่องจากโรคได้อย่างรวดเร็ว 2) ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโครเดอร์มา ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับใบที่ร่วงลงดิน และจะช่วยส่งเสริมให้ต้นยางแข็งแรง 3) พ่นสารเคมีควบคุมโรค โดยฉีดพ่นบริเวณทรงพุ่มและพื้นดินให้ทั่วแปลงเมื่อพบการระบาดที่รุนแรง โดยฉีดพ่นพุ่มใบอย่างน้อย 2 ครั้ง ทำซ้ำทุก 7-15 วัน และฉีดพ่นพื้นสวนที่มีใบที่เป็นโรคร่วงหล่นด้วย

ระวัง โรคแคงเกอร์ “พืชตระกูลส้ม!!

ระวัง โรคแคงเกอร์ "พืชตระกูลส้ม!!

ระวัง โรคแคงเกอร์ “พืชตระกูลส้ม!! สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง เตือนเกษตรกรปลูกพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวานมะนาว และมะกรูด)ให้ระวังโรคแคงเคอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonasaxonopodis pv. citri) ระบาดเข้าทำลายโดยอาการบนใบเริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น เห็นเป็นแผลจุดนูนสีเหลืองอ่อน ลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ จากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อแข็งสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลยุบตัว ขอบแผลยกตัวขึ้น บริเวณรอบๆ แผลปรากฏวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลจุดนูนสีน้ำตาลพบทั้งผิวใบด้านบนและด้านล่าง โดยเห็นชัดเจนบนผิวใบด้านล่าง แผลเกิดได้ทั้งบนใบและก้านใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงก่อนกำหนด อาการบนกิ่ง ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาแผลจะแตก แข็งเป็นสีน้ำตาลขยายรอบกิ่งหรือตามความยาวกิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน อาการบนผล ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่จะเกิดเป็นแผลเดี่ยวๆ มีลักษณะกลมฝังลึกลงไปในผิว แผลจะขยายเป็นสะเก็ดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน มีวงสีเหลืองล้อมรอบ บางครั้งพบผลปริแตกตามรอยแผล หากเกิดโรคในระยะผลอ่อนจะทำ ให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลร่วง ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ : https://bit.ly/4631A9h

โรคมะพร้าว

โรคมะพร้าว

โรคยอดเน่าและผลร่วงจากเชื้อราไฟทอปเทอร่า เกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอม อายุประมาณ 5 ปีจำนวน 10 ต้น ไว้ในสวนทุเรียน มีสองต้นที่เมื่อติดผลจนผลอ่อนมีขนาดประมาณ 6 นิ้ว ผลจะแตกบริเวณขั้วผลและร่วงหล่น จากการตรวจขั้วผลและผ่าลูกดู พบว่าขั้วผลและภายในผลมะพร้าวมีแผลช้ำสีน้ำตาล ตรวจสอบบริเวณยอดมะพร้าวมีรอยแผลสีน้ำตาลเล็กน้อย สันนิษฐานว่ามะพร้าวเป็นโรคยอดเน่าและผลร่วงจากเชื้อราไฟทอปเทอร่า จึงได้แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการดังนี้ 1.เนื่องจากเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับเชื้อสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน จึงให้ตัดและนำผล รวมทั้งใบที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลง เพื่อป้องกันมิให้เชื้อลุกลามสู่ต้นทุเรียน 2.ทำความสะอาดคอมะพร้าว 3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม 80WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นเกษตรกรเจ้าของสวนทุุเรียนซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ได้ขอให้ไปตรวจเยี่ยมสวนทุเรียนเพื่อให้คำแนะนำในการจัดการโรคแมลง จากการตรวจเยี่ยมพบว่า ทุเรียนแปลงดังกล่าวอายุ 2-6 ปี ส่วนใหญ่แสดงอาการใบเป็นริ้วและมีจุดเหลืองกระจายทั่วใบ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี จึงได้แนะนำให้เกษตรกรฉีดพ่นธาตุสังกะสีให้ทุเรียนในอัตราสูงกว่าที่แนะนำในฉลาก 2 เท่า ทุก 15 วัน จนกว่าใบทุเรียนที่แตกออกมาใหม่จะมีอาการปกติ จึงลดการฉีดพ่นธาตุสังกะสีลงให้เหลือตามคำแนะนำ และขยายระยะเวลาเป็น 2-3 เดือนต่อครั้ง

หนอนแมลงวันลาย

หนอนแมลงวันลาย

หนอนแมลงวันลายภัยเงียบฤดูฝนของเกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรง จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ https://www.facebook.com/bee.centercm/posts/pfbid02xfpWDC7PZdGXcoahyshmh8MhnkWXjQ9NnkNMCtXdh8Rh4pMboJhpfHpY5LYcQdNAl หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly: BSF) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hermetia ilucens มักเกิดการระบาดในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นสูง ในรังชันโรงทีมีความอ่อนแอ จะเข้าทำลายในระยะที่เป็นหนอน โดยจะเข้าไปกัดกินอาหารที่ชันโรงสะสมไว้ภายในรัง ได้แก่ ถ้วยน้ำหวาน เกสร มีการเพิ่มปริมาณประชากรอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่รังที่ถูกหนอนแมลงวันลาย เข้าทำลายจะล่มสลายอย่างรวดเร็ว วิธีป้องกัน ควรมีขาตั้งอย่างน้อย 1 ฟุต และมีหลังคาวางกันฝนด้านบนเพื่อป้องกันน้ำเข้ามาในรัง และปากทางเข้ารังควรทำให้น้ำไม่สามารถเข้าได้ และหลีกเลี่ยงการนำรังไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง นอกจากนั้นแล้วในรังที่มีประชากรผึ้งงานน้อยควรมีการเติมกลุ่มไข่แก่จากรังที่แข็งแรงและเป็นชันโรงชนิดเดียวกันเข้าไปเพิ่มเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณผึ้งงานในการดูแลจัดการรังได้ดียิ่งขึ้น ในกรณีที่พบว่ารังเลี้ยงชันโรงถูกหนอนแมลงวันลายเข้าทำลายแต่เป็นระยะเริ่มต้นคือกัดกินถ้วยอาหารภายในรังได้แก่ ถ้วยเกสรและถ้วยน้ำหวานยังไม่ลามมาถึงกลุ่มไข่ สามารถช่วยเหลือรังนี้ได้ด้วยการย้ายกลุ่มไข่แยกจากรังเดิมออกมาใส่ในรังใหม่ โดยอย่าให้หนอนแมลงวันลายติดมาด้วย และเติมอาหารให้โดยตัดจากรังอื่นมาใส่แทนเพื่อป้องกันการขาดอาหารแล้ววางรังนี้ในจุดเดิมให้ประชากรผึ้งวัยสนามกลับเข้ารังใหม่นี้ได้ จากนั้นนำรังเดิมย้ายออกมาและจัดการกับหนอนที่เข้าทำลายโดยการเผาทำลายให้หมดเพื่อป้องกันการลามไประบาดยังรังอื่นๆที่อ่อนแอในบริเวณใกล้เคียงภายในฟาร์ม โดยในช่วงฤดูฝนควรมีการตรวจเช็ครังชันโรงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ที่มา : ชันโรงแมลงตัวจิ๋วแต่ประโยชน์มหาศาล ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่) สำหรับหนอนแมลงวันลายนั้นเมื่อเข้ามาในรังชันโรงจะนับได้ว่าเป็นศัตรูชนิดหนึ่งที่สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรงไม่น้อยแต่ในทางกลับกันหนอนแมลงวันลายนั้นก็เป็นแมลงที่ให้โปรตีนสูงสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ไม่เป็นพาหะนำโรค และสามารถกำจัดขยะได้ดี แต่ต้องมีการเลี้ยงในรูปแบบโรงเรือนปิดที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ