ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ข้าว ให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุด สำรวจทั่วแปลงในนาหว่าน 10 ต้น ต่อจุดสำรวจ ในนาดำ 1 กอ ต่อจุดสำรวจ (นับทุกต้นใน 1 กอ) 1.เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ย

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 รายการศูนย์ขยายกระจายข่าว โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช พูดคุยหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร” https://www.facebook.com/radiothungsongfm97/videos/538759919135860

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 4,630 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

พลูเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ดูแลง่ายสามารถปลูกได้ทุกฤดูราคาซื้อขายพลูกินใบขึ้นลงได้ตามภาวะ ราคาตลาด ตั้งแต่ 45-120 บาทต่อกิโลกรัม การปลูกเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง ไม้ที่ใช้จะเป็นไม้ไผ่ เพราะไม้ไผ่มีน้ำหนักเบาและมีเนื้อเยื่อไม้ที่เหนียว ทำให้พลูยึดเกาะได้ดี วิธีปลูก ทำการปักไม้ค้างระยะห่างต้น 60 ซม. ขุดหลุมให้ลึก 60 ซม. ขนาด 50×50 ซม. ส่วนดินที่ใส่ลงไปในหลุมให้ผสมมูลวัวด้วย

รวม เคล็ด(ไม่)ลับ ที่กรมส่งเสริมการเกษตร อยากแชร์กับพี่น้องเกษตรกร ด้วยการหยุดเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการที่ยั่งยืน มัดรวมให้แล้วกับองค์ความรู้ต่างๆ ที่สามารถหยิบจับไปใช้งานได้ในพื้นที่ของตัวเอง

ทริคโครแกรมม่า นักล่าไข่ผีเสื้อ วิธีการปล่อยแตนเบียนไข่ทริคโครแกรมม่า แตนเบียนไข่ทริคโครแกรมม่า ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรพื้นที่ 2 ลาดกระบัง ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 105 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด เกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi ลักษณะอาการ : จะพบจุดขนาดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำ โดยเฉพาะใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะใบยอดอาการที่เห็นได้ชัดจะพบอาการใบด่างหรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่จะพบส่วนของเชื้อราเป็นผงสีขาวบริเวณใต้ใบ อาการอื่น จะพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นเตี้ยแคระแกร็น ข้อถี่ ไม่ติดฝัก หรือมีฝักที่ติดเมล็ดน้อย/ไม่ติดเมล็ด (ข้าวโพดฟันหลอ) ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ **ข้าวโพดอายุ 1- 3 สัปดาห์

ทำนาแบบตัดตอซัง

ทำนาแบบตัดตอซัง ลดต้นทุน ลดเวลาปลูก ผลผลิตเยี่ยม ข้อมูลโดย : คุณอนันต์ ปรางค์โท้ เกษตรตำบลเทพนคร วิธีการตัดตอซัง 1.หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ให้รีบตัดตอซังภายใน 7 วัน โดยตัดตอข้าวให้สูงเพียง 5-10 ซม. และตีกระจายฟางข้าวให้ทั่ว 2.ปล่อยน้ำเข้าแปลง โดยพิจารณา ดังนี้ 3.การใส่ปุ๋ย

เพลี้ยไฟเข้าทำลายผักสลัด

เพลี้ยไฟเข้าทำลายผักสลัด

เพลี้ยไฟเข้าทำลายผักสลัด คำแนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ดังนี้ 1. เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยไฟอย่างรุนแรงให้ใช้สารสกัดใบยาสูบ ฉีดพ่นทุก 2-3 วัน และเมื่อประชากรเพลี้ยไฟจะลดลงแล้วสามารถฉีดพ่นสารสกัดใบยาสูบทุก 7-10 วัน โดยสลับกับการฉีดพ่นไวต์ออยล์ หรือปิโตรเลียมออยล์ 5-7 วัน/ครั้ง 2. และเมื่อประชากรเพลี้ยไฟลดลง ให้ใช้สารสกัดสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตราส่วน 15-20 ชีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1 ครั้ง/สัปดาห์ 3. ใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราเมตาไรเชียม หรือเชื้อราบิวเวอเรีย ฉีดพ่น 1 ครั้ง/สัปดาห์ 4. ใช้กับดักกาวเหนียวติดตั้งรอบบริเวณแปลง 5. กำจัดวัชพืชรอบแปลงซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยไฟ ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02kNRKhQUW1gWrqmJtMGGF5WeyQRMQASabiiHdQ6t8zbzzRJYBg6998RECn25a2MWYl&id=100013463325204

เพลี้ยไฟในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เพลี้ยไฟในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เพลี้ยไฟในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0rNFmQ8CrJPWdGZGGoX6Y4JAcu2arA3mnQxBPpxdkvGf3foH6JQkhMU9H2ztVZ4JSl&id=100013463325204

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp. โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่ปลายใบและขอบใบไม้ จุดที่เกิดโรคจะมีเนื้อใบไม้ที่แห้งเป็นสีน้ำตาลแดงก่อนและต่อมาเปลี่ยนเป็นสี ขาวอมเทา และเมื่อเชื้อเจริญเติบโตจะทำความเสียหายกับใบทุเรียน โรคใบไหม้ แพร่ระบาดไปโดย ลม ฝน และ เนื้อเยื่อใบที่แห้ง สาเหตุโรค อาการโรคใบจุด ขอบใบไหม้ ส่วนมากเชื้อจะเข้าทำลายที่บริเวณปลายใบไม้และขอบใบไม้ก่อน เกิดอาการปลายใบแห้ง และ ขอบใบแห้ง ที่จุดเชื้อสาเหตุเข้าทำลาย เนื้อใบส่วนนั้นจะแห้งเป็นสีน้ำตาลแดงในระยะแรก และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเทา และเชื้อจะเจริญพัฒนาทำความเสียหายกับใบทุเรียน ขยายขนาดของพื้นที่เนื้อใบแห้งออกไปเรื่อยๆ เนื้อใบส่วนที่แห้งสีขาวอมเทามีการสร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นเม็ดสีดำกระจัดกระจายเต็มพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรค ส่วนขยายพันธุ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะแพร่ระบาดไปโดยลม และ ฝน และ จากเนื้อเยื่อใบที่แห้งและหล่นตกค้างอยู่มี่ใต้โคนต้น เชื้อสามารถเข้าทำลายได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ แนวทางการจัดการโรคใบจุด ขอบใบไหม้ เมื่อพบการระบาดของโรค ควรตัดแต่งกิ่งที่ป็นโรค เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุในแปลงปลูก แล้วพ่น

โรคในแปลงกล้วยตานี

โรคในแปลงกล้วยตานี

โรคในแปลงกล้วยตานี ใบล่างของกล้วยมีอาการจุดสีดำประปราย และเริ่มลุกลามทำให้ใบเหลืองแห้ง แต่ยังไม่พบยืนต้นตาย เมื่อตัดลำต้นกล้วยไม่พบแผลหรือรอยช้ำ ไม่พบรอยเจาะของด้วงงวงเจาะลำต้นกล้วย จึงสันนิษฐานว่ากล้วยเป็นโรคใบจุด แนะนำให้หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบใบกล้วยมีอาการของโรคให้รีบตัดใบที่เป็นโรคนำออกไปทำลายนอกแปลงปลูก และตัดแต่งใบกล้วยในแต่ละต้นหรือแต่ละกอ ไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดความชื้นในกอกล้วยที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือสะสมของเชื้อรา จากนั้นให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นที่เป็นโรค และหากเกษตรกรต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด ของโรคนี้มาก่อน และไม่นำหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูก ให้เลือกใช้หน่อกล้วยที่มีคุณภาพดี จากแหล่งปลอดโรคและควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/photo/?fbid=17387898565797

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว

ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองขลุง https://www.facebook.com/photo?fbid=666091328902223&set=pcb.666091352235554