ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชิ้น ปี 2568 ปีแห่งการพัฒนาเกษตรกรไทยจะก้าวหน้า หากปรับตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศึกษาความต้องการในการเจริญเติบโตของพืช การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช ลดปัจจัยในการผลิต เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสาร ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง “กรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมเคียงข้างให้คำแนะนำในทุกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกษตรกรไทย

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ขอชวนพี่น้องเกษตรกรเตรียมต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2568 ตั้งแต่วันที่ 1- 30 มกราคม 2568 ทั้งนี้ หากวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ไม่มาต่อทะเบียนเป็นระยะเวลา 2 ปี ติดต่อกัน จะถูกเพิกถอนทะเบียน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 3 เอกสาร ด้านล่างค่ะ การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนคลิกอ่าน : https://bit.ly/4gfJdEg การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนhttps://bit.ly/3ORv0B6

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

สับปะรด GI ท่าอุเทน

สับปะรด GI ท่าอุเทน

สับปะรด GI ท่าอุเทน © ลิขสิทธิ์ของกรมส่งเสริมการเกษตร • สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ภาพจาก : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02hwGMytyw3xC2y4aKQcaNgjfpJN7wpPa41sEqyyPLaVuFnN7xtsaPTmwAc1p4dMF2l&id=104846481970438

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ลำต้นเทียมสูง 3.5 เมตร ใบประดับปลีค่อนข้างมน ปลายป้านม้วนงอขึ้น เป็นสีแดงอมม่วง มีนวลเยอะ เครือหนึ่งมี 7–10 หวี หวีหนึ่งมี 10–15 ผล ผลดิบมีสีเขียว ผลเมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อผลสีขาว รสชาติหวานเล็กน้อย เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ภาพจาก : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ สอง จังหวัดตรัง  ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0pC6pHDphtTQuYZnHHRrsF4sEFm3ePhvL8tY59CWFfCFe4K7uzVZxE2ePYonj2JjWl&id=100006580695357