โรคราน้ำค้างพืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด
เป็นโรคพืชที่พบการระบาดมากในช่วงอากาศเย็น ความชื้นสูง และฝนตกชุก เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคสามารถแพร่ระบาดได้ดีโดย ลม น้ำฝน เครื่องมือทางการเกษตร การเคลื่อนย้ายพืชปลูก และจะเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ความชื้นในแปลงสูง หากเข้าทำลายพืชปลูกจะสร้างความเสียหายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จะทำให้ผลผลิตพืชลดลง รวมถึงขนาดและคุณภาพลดลง หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น นอกจากนี้โรคราน้ำค้างยังสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด เป็นต้น ส่วนข้อสังเกตของโรคราน้ำค้าง พบว่าในช่วงเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง เมื่อพลิกดูใต้ใบพืชมักจะพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้าย และลักษณะอาการโรคของพืชบางชนิด จะถูกจํากัดด้วยเส้นใบ จึงเห็นเป็นจุดแผลรูปสี่เหลี่ยม สำหรับโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่
หนอนคืบกินใบเงาะ
หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า ให้เขย่ากิ่งเงาะ ตัวหนอนคืบจะทิ้งตัวลงที่พื้นดิน สามารถจับทำลายได้ หรือใช้กับดักแสง ไฟล่อตัวเต็มวัยในช่วงกลางคืน (18.00 น. ถึง 20.00 น.) 3.ใช้สารสกัดสะเดา โดยนำเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำสารสะเดาที่ได้ผสมกับสารจับใบไปฉีดพ่นให้ทั่วยอดอ่อนและทรงพุ่ม 4.พ่นเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 250 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบบริเวณใบอ่อน และทรงพุ่ม ทุก 3-7 วัน 5.พ่นด้วยสารเคมี เช่น carbaryl 85% WP อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา
สับปะรดรับประทานผลสด พันธุ์ MD2
สับปะรดรับประทานผลสด พันธุ์ MD2เป็นสับปะรด ที่พัฒนาขึ้นที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ขนส่งทางเรือได้ โดยไม่เป็น “ไส้สีน้ำตาล” สามารถอยู่ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส นานกว่า 10 วัน รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อมีสีเหลืองเข้ม เนื้อต้น แน่น ไม่เป็นโพรง น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 1.7-1.8 กิโลกรัม มีวิตามินซีสูงถึง 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับสับปะรดพันธุ์อื่น ๆ ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอกุยบุรี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02bhwojHaGWWaFVL2WqqeYgmLJb9o8iHeaebcaeWzgdGntxye4hFv8UutFYsB97Z3Rl&id=100007937443903
โรคไหม้ในข้าว
โรคไหม้ (Rice Blast Disease) พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่ ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น การป้องกันกำจัด ใช้พันธุ์ค่อนข้างต้านทานโรค ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 ปราจีนบุรี 1
ดอกมะลิ
ดอกมะลิ สายพันธุ์มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้ามะลิที่นิยมปลูกเพื่อใช้สําหรับเป็นการค้าโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมะลิลา จะมี 3 สายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ พันธุ์เเม่กลอง มีลักษณะทรงพุ่มใหญ่ หนาเเละเเน่นทึบ เจริญเติบโตเร็ว ดอกใหญ่กลมเเละมีช่อดอก 1 ชุด ชุดละ 3 ดอก พันธุ์ราษฎ์บูรณะ ลักษณะ ทรงพุ่มเล็กกว่าพันธุ์แม่กลองเเละค่อนข้างทึบ ใบเล็กกว่า ดอกเล็กเรียวเเหลมเเละมีช่อดอก 1-2 ชุด ชุดละ 3 ดอก เเละให้ผลผลิตค่อนข้างสม่ําเสมอ และพันธุ์ชุมพร มีลักษณะคล้ายพันธุ์ราษฎ์บูรณะ เเต่ทรงพุ่มโปร่งกว่าเล็กน้อย ใบคล้ายพันธุ์ราษฎณ์บูรณะเเต่เรียวกว่า สี มีดอกมากกว่า 2 ชุด ชุดละ 3 ดอก เเละให้ผลผลิตปริมาณมาก แต่ไม่สม่ำเสมอ ที่มา : ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร https://doaenews.doae.go.th/archives/24437