ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันแและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ประกาศลงวันที่ 17 มกราคม 2568

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรวางแผนรับมือฝนทิ้งช่วงกลางฤดูฝน ปี 2563 แนะปลูกพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตไว และสร้างแหล่งกักเก็บสำรองน้ำเพื่อการเกษตร

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า  จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่องการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ที่เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป และจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2563 โดยในระยะแรกของฤดู ปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะยังไม่สม่ำเสมอ และจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ สำหรับช่วงปลายเดือนมิถุนายน – กลางเดือนกรกฎาคม จะมีปริมาณฝนตกน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน จะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ประมาณ 1 – 2 ลูก ส่วนบริเวณภาคใต้นั้นจะมีฝนตกต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคม 2564 ซึ่งถึงแม้ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศปีนี้จะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 แต่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาจะมีปริมาณของฝนมากกว่า

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอเตือนให้เกษตรกรที่จะเพาะปลูกพืชในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนนี้ วางแผนกักเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในเวลาที่ฝนทิ้งช่วง หรือปลูกพืชอายุสั้น/พืชผัก เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง หรือถั่วเขียว เป็นต้น ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเพาะปลูกประมาณ 25-40 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เพื่อป้องกันผลผลิตเสียหายกรณีขาดแคลนน้ำในช่วงดังกล่าว

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำให้เกษตรกร โดยเฉพาะผู้ที่ทำการเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน สร้างแหล่งกักเก็บสำรองน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วง เพื่อเตรียมพร้อมกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในช่วงที่จะมีฝนตกชุกหนาแน่นในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายนตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ โดยขอย้ำให้เกษตรกรติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง หรือสามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

*************************

กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : นาฏสรวง ข่าว / พฤษภาคม 2563

ข้อมูล : กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร