ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

ปลูกแตงโมหลังทำนา สร้างอาชีพ การเตรียมดินไถดะตากดิน 7 วัน และไถพรวนยกร่อง ระยะปลูก 40-50 เซนติเมตร ระยะแถว 3 เมตร ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ พ่นไตรโคเดอร์มา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนมกราคม 2568 ฟรี วันที่ 7 มกราคม 2568วันที่ 8 มกราคม 2568วันที่ 9 มกราคม 2568 หลักสูตร พืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ได้แก่1.การผลิตต้นพันธุ์ พริกเดือยไก่

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หนอนกระทู้ผัก

หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย


เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568

ภาคเหนือ
ข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าว
ลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาด
กาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุด
ผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

ภาคกลาง
ข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดสีนน้ำตาล หนอนกอข้าว โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ข้าว
อ้อย ระวัง หนอนกออ้อย โรคใบขาว โรคแส้ดำ
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก ด้วงหมัดผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง
มันสำปะหลัง ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคพุ่มแจ้ โรคใบไหม้ โรคใบด่าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดสีนน้ำตาล หนอนกอข้าว โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ข้าว
มันสำปะหลัง ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคพุ่มแจ้ โรคใบด่าง
อ้อย ระวัง หนอนกออ้อย โรคใบขาว โรคเหี่ยวเน่าแดง
ทุเรียน ระวัง หนอนกินใบ เพลี้ยจักจั่นฝอย ไรแดง โรครากเน่าโคนเน่า
ยางพารา ระวัง โรคใบร่วงชนิดใหม่ โรคราแป้ง อาการเปลือกแห้ง

ภาคตะวันออก
มันสำปะหลัง ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคใบด่าง โรคพุ่มแจ้ โรคใบไหม้
ทุเรียน ระวัง เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยแป้ง ไรแดง ด้วงหนวดยาว โรครากเน่าโคนเน่า
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ยางพารา ระวัง โรคใบร่วง โรครากขาว โรคราแป้ง อาการเปลือกแห้ง

ภาคใต้
ทุเรียน ระวัง เพลี้ยแป้ง โรคใบจุดสาหร่าย โรคใบติด โรครากเน่าโคนเน่า
มังคุด ระวัง หนอนชอนใบ เพลี้ยแป้ง ไรแดง โรคใบจุดสาหร่าย โรคใบจุด
ปาล์มน้ำมัน ระวัง หนอนปลอกเล็ก ด้วงกุหลาบ โรคทะลายเน่า โรคลำต้นเน่า
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ยางพารา ระวัง โรคราแป้ง โรคเส้นดำ โรคใบร่วงชนิดใหม่ โรครากขาว

จัดทำโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568