ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

ปลูกแตงโมหลังทำนา สร้างอาชีพ การเตรียมดินไถดะตากดิน 7 วัน และไถพรวนยกร่อง ระยะปลูก 40-50 เซนติเมตร ระยะแถว 3 เมตร ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ พ่นไตรโคเดอร์มา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนมกราคม 2568 ฟรี วันที่ 7 มกราคม 2568วันที่ 8 มกราคม 2568วันที่ 9 มกราคม 2568 หลักสูตร พืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ได้แก่1.การผลิตต้นพันธุ์ พริกเดือยไก่

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร


เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว

การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย

1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้

2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน 5 ซม. มีรูทั้งหมด 40 รู ติดตั้งพื้นที่ละ 1 จุด โดยฝังท่อในนาลึกประมาณ 20 ซม. ให้ปากท่ออยู่เหนือดิน 5 ซม. และนำดินที่อยู่ในท่อออก

3.การปลูกข้าว ปลูกข้าวตามวิธีการที่เกษตรกรเคยทำปกติ

4.ขั้นตอนการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ดังนี้

  • หลังหว่านข้าวแล้ว 15-20 วัน สังเกตน้ำในท่อ ถ้าน้ำลดต่ำลงมากกว่า 10 ซม. ให้นำน้ำเข้าแปลง
  • ก่อนการใส่ปุ๋ยครั้งแรก เพิ่มระดับน้ำในแปลงนา ให้น้ำท่วมปากท่อดูน้ำ แล้วขังน้ำไว้ 3 วัน
  • ใส่ปุ๋ยครั้งแรก (20-25 วัน หลังหว่านข้าว) รักษาระดับน้ำให้ท่วมผิวดิน ปล่อยให้น้ำในนาเริ่มลงและแห้งลงตามธรรมชาติ
  • หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกดูระดับน้ำในท่อ ถ้าลดลงมากกว่า 10 ซม. ใส่น้ำเข้าแปลงให้ท่วมปากท่อ
  • ช่วงระยะข้าวเริ่มตั้งท้อง ออกดอก ถึงระยะแป้งในเมล็ดเริ่มแข็ง (50 วัน หลังข้าวเริ่มตั้งท้อง) เป็นช่วงข้าวขาดน้ำไม่ได้ ให้รักษาระดับน้ำให้สูงกว่าปากท่อ 10 ซม.
  • หลังข้าวออกดอก 20 วัน ให้เก็บท่อออกและลดระดับน้ำให้แห้งเพื่อเร่งการสุกแก่

5.ข้อควรระวัง

  • เทคนิคนี้ต้องทำในพื้นที่ ที่ควบคุมน้ำได้
  • ไม่เหมาะกับดินทรายและดินเค็ม
  • ควรเลือกใช้วิธีการเปียกสลับแห้งให้เหมาะสมกับอายุของข้าว
  • ข้าวอายุเก็บเกี่ยวสั้น (95 วัน) ใช้วิธีการเปียกสลับเพียง 1 ครั้ง ช่วงอายุข้าว 25-30 วัน เนื่องจากครั้งที่ 2 ตรงกับช่วงข้าวตั้งท้อง จะส่งผลให้เมล็ดข้าวลีบ
  • ข้าวอายุเก็บเกี่ยวยาว (120 วัน) ใช้วิธีการเปียกสลับแห้ง 2 ครั้ง ได้แก่ ช่วงอายุข้าว 25-30 วัน และช่วงอายุข้าว 60 วัน (ช่วงข้าวตั้งท้อง)

เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/12/01_67Rice_Big_0.png