เฝ้าระวังด้วงแรดมะพร้าว
ลักษณะการเข้าทำลาย
- กัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด รอยแผลที่ถูกด้วงแรดทำลาย จะเป็นสาเหตุให้ด้วงงวงเข้าทำลายต่อมาในภายหลัง
การป้องกันกำจัด
- วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล้งขยายพันธุ์หากมีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แกลบ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน
- การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมใส่ไว้ตามกองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ คลุกให้กระจายทั่วกอง รดน้ำให้ความชื้น เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต
- การใช้สารเคมี ต้นมะพร้าวที่ยังไม่สูงมาก ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบ ๆ ยอดอ่อน กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดเข้ามาทำลาย ใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน 60% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียกโดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตร ต่อต้น ทุก 15-20 วัน ควรใช้ 1-2 ครั้ง ในช่วงระบาด
เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท
