ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

การควบคุมภายใน (Internal Control) เครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ความหมายของการควบคุมภายใน การควบคุมภายใน (Internal Control) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงาน ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยงานจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ แนวคิดของการควบคุมภายใน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 316 (พฤษภาคม – มิถุนายน 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEการควบคุมภายใน (Internal Control) เครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ หน้า 4 เกษตรต่างแดนคงคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรไทยในตลาดส่งออกสาธารณรัฐประชาชนจีน

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกภาคของประเทศไทย จากการติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าว และการรายงานข้อมูลสถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าวในพื้นที่ เริ่มพบการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหลายพื้นที่ฝนเริ่มตกลดลง สภาพอากาศกลางวันร้อน อุณหภูมิและความชื้นเหมาะต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนั้น ขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

รูปร่างลักษณะ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร กว้าง ๑ มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง ๒ ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (brachyterous form) ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ ๒ สัปดาห์ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย โดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น “hopper burn” ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหารได้ดี

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น “hopper burn” ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น

ขอบคุณภาพจาก : กรมการข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล