เพลี้ยไฟในข้าว
เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว
ลักษณะการเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน แห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมาก ๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจแปลงข้าวอย่างสม่ำเสมอ
- ดูแลแปลงข้าวระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่ อvuาให้ขาดน้ำ
- ไขน้ำท่วมยอดข้าวทิ้งไว้ 1-2 วัน เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าว อายุ 6-7 วัน เมื่อข้าว อายุ 10 วัน หว่านปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กก. ต่อไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้ยข้าว
- ใช้สารกำจัดแมลง เช่น
- มาลาไธออน 83% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- เซฟวิน 85% ดับบลิวพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา