เพลี้ยไฟในทุเรียน
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทําลายทุเรียนในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทําให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทําให้ใบอ่อนร่วงได้
คำแนะนำในการป้องกันกำจัด ดังนี้
- วิธีกล ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อจับตัวเต็มวัยจะลดการวางไข่ได้ 2. การใช้สารชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย
- ใช้สารเคมี ใช้สารตามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ดังนี้
- กลุ่ม 1 คาร์โบซัลแฟน เบนฟูราคาร์บ โพรไทโอฟอส
- กลุ่ม 2 ฟิโพรนิล
- กลุ่ม 4 อิมิดาโคลพริด ไทอะมีทอกแซม อะซีทามิพริด
- กลุ่ม 5 สไปนีโทแรม
- กลุ่ม 6 อะบาเมกติน อีมาเมกติน
- กลุ่ม 15 โนวาลูรอน ลูเฟนนูรอน
- กลุ่ม 23 สไปโรมีไซเฟน สไปโรเตตระแมต
ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานได้
ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย