แตนเบียนบราคอน
เป็นแตนเบียนท้องถิ่น พบได้ในธรรมชาติ ทำลายศัตรูพืชระยะหนอน มีขนาดเล็กประมาณ 1.3-2.7 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนดำ หรือดำ เพศเมีย มีอวัยวะวางไข่โดยจะวางไข่บนหนอนของผีเสื้อ ก่อนวางไข่ แตนเบียนบราคอนจะปล่อยสารชนิดหนึ่งทำให้หนอนเป็นอัมพาตแล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะดูดน้ำเลี้ยงบนตัวหนอนผีเสื้อจนตัวหนอนตาย
เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี








หนอนผีเสื้อข้าวสารที่ใช้ในการเบียน แตนเบียนบราคอนนั่นใช้วัยที่ 5 ใส่ลงในกล่องจำนวน 20 ตัว/กล่อง

แตนเบียนบราคอนกำลังเบียนตัวหนอนผีเสื้อข้าวสาร โดยจะปล่อยสารชนิดหนึ่งทำให้หนอนเป็นอัมพาตแล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะดูดน้ำเลี้ยงบนตัวหนอนผีเสื้อจนตัวหนอนตาย

นำแตนเบียนในภาชนะที่พร้อมปล่อย ไปเปิดฝากล่องออกในสวนมะพร้าวที่มีหนอนหัวดำระบาดในช่วงเย็นปล่อยกระจายให้ทั่วแปลง อัตรา 200 ตัว/ไร่ แตนเบียนบราคอนตัวเมียจะ บินขึ้นไป วางไข่บนตัวหนอนหัวดำมะพร้าว โดยปล่อยทุกๆ 15 วัน ติดต่อกัน 16 ครั้ง

ใยที่หนอนหัวดำมะพร้าวสร้างมาเรียงติดกันเป็นแพ และสร้างอุโมงค์เป็นทางยาวอาศัยกัดกินใบอยู่ภายในอุโมงค์

หนอนหัวดำมะพร้าว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบมะพร้าว การทำลายเกิดในระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยตัวหนอนจะถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพ และสร้างอุโมงค์เป็นทางยาวอาศัยกัดกินใบอยู่ภายในอุโมงค์ ชอบทำลายใบแก่ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้ว จะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ มักจะพบหนอนหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวใบเดียวกัน หนอนจะสร้างใยผสมกับมูล ทำเป็นอุโมงค์และอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์

อัตราการปล่อย 200 ตัว/ไร่ ปล่อยทุก 15 วัน โดยปล่อยจำนวน 16 ครั้งต่อเนื่องกัน ควรปล่อยช่วงตอนเย็น
