แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (olivier)
วงจรชีวิต
- ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย
- ระยะไข่ถึงระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
รูปร่างลักษณะ
ระยะตัวเต็มวัย
เป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีหนามแข็งแหลมแปกคลุมตัว ลำตัวยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน ระยะตัวเต็มวัย 14-21 วัน
ระยะตัวหนอน
ตัวหนอน ลำตัวแบน สีขาว ตัวหนอนกินเนื้อเยื่อภายในผิวใบข้าว เจริญเติบโตและเข้าดักแด้อยู่ภายในใบข้าว ระยะหนอน 7-12 วัน
ลักษณะการเข้าทำลาย
แมลงดำหนามข้าว มักพบการทำลายข้าวในระยะกล้าถึงออกรวง โดยสามารถทำลายต้นข้าวได้ทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัย จะพบการทำลายรุนแรงในพื้นที่นาลุ่ม
- ตัวหนอน จะชอนใบข้าว กัดกินเนื้อเยื่อส่วนสีเขียว ภายในใบข้าวเห็นเป็นรอยแผ่นสีขุ่นมัวขนานกับเส้นใบ
- ตัวเต็มวัย กัดกินผิวใบข้าวด้านบน ทำให้เห็นรอยขูดเป็นทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ
- นาข้าวที่ถูกทำลายรุนแรง ใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาลเหมือนไฟไหม้
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงนา เนื่องจากวัชพืชบางชนิดเป็นพืชอาศัยของแมลงดำหนามข้าว
- ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
- อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แตนเบียนทริโคแกรมมา และแตนเบียนบราคอน
- หากพบจำนวนตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามข้าวมากกว่า 2 ตัวต่อกอหรือกลุ่มข้าว ควรใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ฟีโปรนิล หรือคลอไทอะนิดีน อัตราตามฉลากแนะนำ
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท
ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567