แมลงบั่ว
ตัวเต็มวัยแมลงบั่ว คล้ายยุงหรือตัวริ้น วางไข่เดี่ยวหรือกลุ่ม 3-4 ฟอง ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอมสีชมพูอ่อน ตัวหนอนคล้ายหนอนแมลงวัน หัวท้ายเรียว ตัวหนอนมี 3 ระยะ (วงจรชีวิตของแมลงบั่ว 25-30 วัน)
การเข้าทำลาย
แมลงบั่วจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะกล้า (ข้าวอายุ 1 เดือน) โดยบินเข้าหาแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวหนอนเข้าไปเจริญเติบโตในกาบใบข้าว ทำลายยอดข้าว ทำให้ใบข้าวมีลักษณะหลอด เรียกว่า “หลอดบั่ว” หรือ “หลอดหอม”
แนวทางป้องกันกำจัด
- สำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ก่อนปลูกข้าวควรกำจัดวัชพืชรอบแปลง เพื่อทำลายพืชอาศัย
- ไม่หว่านข้าวแน่น หรือใช้วิธีปักดำในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการระบาดของแมลงบั่ว
- ใช้กับดักแสงไฟล่อตัวเต็มวัยของแมลงบั่ว
- อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมงมุม ด้วงดิน แตนเบียน แมลงช้างปีกใส เป็นต้น
หากพบการระบาดรุนแรง แนะนำใช้สารเคมีกำจัดแมลง
- กลุ่ม 1 เบนฟูราคาร์บ ไตรอะโซฟอส
- กลุ่ม 2 ฟิโพรนิล อีทิโพรล
- กลุ่ม 4 อิมิดาคลอพริด ไทอะมีทอกแซม อะเซทามิพริด โคลไทอะนิดิน
- กลุ่ม 28 ฟลูเบนไดอะไมด์ คลอแรนทรานิลิโพรล
ผสมตามคำแนะนำและอัตราการใช้ในฉลาก สามารถผสมสารจับใบ โดยต้องสลับกลุ่มสารเคมีทุกการพ่น 2 ครั้ง และใช้สารเคมี 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อป้องกันการดื้อยา
ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร