ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 10 ทางเลือกการจัดการวัสดุทางการเกษตรลดต้นทุน 1.ไถกลบแทนการเผาเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 261 บาท/ไร่ 2.ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย 6 บาท/กิโลกรัม 3.เลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารหมักลดต้นทุนอาหารสัตว์ 3.83 บาท/กิโลกรัม 4.วัสดุห่มดินช่วยรักษาความชื้นในดิน 5.หัวเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายตอซังข้าวใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายตอซังข้าวได้ 7-10 วัน ลดต้นทุน 1,000 บาท/ไร่

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร


แมลงสิง

แมลงสิง เป็นมวนชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี ปล่อยกลิ่นเหม็นจากต่อมที่ส่วนท้อง ตัวเต็มวัยออกหากินช่วงเช้ามืดและบ่าย

เพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิต 2-3 เดือน วางไข่เป็นกลุ่ม 10-12 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน ระยะไข่นาน 7 วัน ตัวอ่อนมี 5 ระยะ มีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าว ส่วนตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายเมล็ดข้าวในระยะน้ำนมจนถึงออกรวง

การเข้าทำลาย
แมลงสิงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ทั้งในระยะข้าวเมล็ดอ่อนจนถึงเมล็ดแข็ง โดยเฉพาะข้าวระยะน้ำนม ทำให้เมล็ดข้าวลีบไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง เมื่อนำไปสีเป็นข้าวสาร เมล็ดจะแตกหัก ไม่ได้คุณภาพ

การป้องกันกำจัด

  1. กำจัดวัชพืชในนาข้าว คันนา และรอบแปลง
  2. ใช้สวิงโฉบจับตัวอ่อน และตัวเต็มวัย แล้วนำมาทำลาย
  3. ตัวเต็มวัยชอบกินเนื้อเน่า โดยนำเนื้อเน่าแขวนไว้ตามคันนา แล้วจับมาทำลาย
  4. หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการแพร่ขยายพันธุ์ของแมลงสิง
  5. ใช้สารกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 80 มล. อิมิดาคลอพริด 10% SL อัตรา 20-30 มล. ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 20 กรัม ฟีโนบูคาร์บ 50% EC อัตรา 25 มล.

*อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงสิงมากกว่า 4 ตัว ต่อตร.ม. ในระยะน้ำนม

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงสิง
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/10/แมลงสิงในข้าว.png