โรคโคนเน่า-รากเน่าในมันสำปะหลัง
เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phythopthora meadii) เป็นเชื้อราในดินมันสำปะหลังจะแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยเชื้อจะเข้าสู่โคนต้นก่อน ทำให้เกิดอาการบวมพองและมีปุ่มรากที่โคนต้นเหนือผิวดิน จากนั้นเชื้อจะลามลงไปที่รากและก้านขั้วหัวมันส่วนอาการเหนือดิน สังเกตได้จากใบเริ่มซีดเหลือง จากนั้นใบล่างเริ่มแสดงอาการเหี่ยวและแห้งคาต้น เมื่อถอนต้นรากและหัวเน่า แต่ลำต้นยังเป็นปกติ หากเกาตรกรตัดต้นไปขายเป็นท่อนพันธุ์ จะทำให้เชื้อสามารถแพร่ขยายได้ในวงกว้าง
การป้องกันกำจัด
- พื้นที่ดินดานควรไถระเบิดชั้นดินดานและตากดินไว้ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนปลูก
- แปลงปลูกควรยกร่อง จัดระยะปลูกให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง
- คัดเลือกท่อนพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค
- ก่อนปลูกแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
- หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบต้นที่แสดงอาการของโรค ถอนนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
- แล้วโรยปูนขาว หรือราดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา บริเวณที่ถอนและโดยรอบห่างออกไปประมาณ 1 เมตร
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บเศษเหง้า และเศษซากมันสำปะหลัง ไปทำลายนอกแปลงปลูก
- ควรทำความสะอาดเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ในแปลงที่เป็นโรค เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคอาจติดมากับเครื่องจักร
- ในแปลงที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น อ้อย ข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่ว
ในกรณีที่พบการระบาดของโรครุนแรง ควรปฏิบัติดังนี้
- พื้นที่ที่พบต้นแสดงอาการของโรคมากกว่าร้อยละ 50 ควรไถทิ้ง เก็บเศษซากนำไปทำลายนอกแปลงปลูกแล้วตากดิน
- พื้นที่ที่พบต้นแสดงอาการของโรคร้อยละ 30-50 มันสำปะหลัง อายุ 1-3 เดือน ควรไถทิ้ง เก็บเศษซากนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วตากดิน มันสำปะหลังอายุ 4-7 เดือน หว่านปูนขาวให้ทั่วแปลงมันสำปะหลัง อายุ 8 เดือนขึ้นไป ควรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตทันที
จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท