ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร


โรคยอดเน่าและผลร่วงจากเชื้อราไฟทอปเทอร่า

เกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอม อายุประมาณ 5 ปีจำนวน 10 ต้น ไว้ในสวนทุเรียน มีสองต้นที่เมื่อติดผลจนผลอ่อนมีขนาดประมาณ 6 นิ้ว ผลจะแตกบริเวณขั้วผลและร่วงหล่น

จากการตรวจขั้วผลและผ่าลูกดู พบว่าขั้วผลและภายในผลมะพร้าวมีแผลช้ำสีน้ำตาล ตรวจสอบบริเวณยอดมะพร้าวมีรอยแผลสีน้ำตาลเล็กน้อย สันนิษฐานว่ามะพร้าวเป็นโรคยอดเน่าและผลร่วงจากเชื้อราไฟทอปเทอร่า จึงได้แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการดังนี้

1.เนื่องจากเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับเชื้อสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน จึงให้ตัดและนำผล รวมทั้งใบที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลง เพื่อป้องกันมิให้เชื้อลุกลามสู่ต้นทุเรียน

2.ทำความสะอาดคอมะพร้าว

3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม 80WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

จากนั้นเกษตรกรเจ้าของสวนทุุเรียนซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ได้ขอให้ไปตรวจเยี่ยมสวนทุเรียนเพื่อให้คำแนะนำในการจัดการโรคแมลง จากการตรวจเยี่ยมพบว่า ทุเรียนแปลงดังกล่าวอายุ 2-6 ปี ส่วนใหญ่แสดงอาการใบเป็นริ้วและมีจุดเหลืองกระจายทั่วใบ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี จึงได้แนะนำให้เกษตรกรฉีดพ่นธาตุสังกะสีให้ทุเรียนในอัตราสูงกว่าที่แนะนำในฉลาก 2 เท่า ทุก 15 วัน จนกว่าใบทุเรียนที่แตกออกมาใหม่จะมีอาการปกติ จึงลดการฉีดพ่นธาตุสังกะสีลงให้เหลือตามคำแนะนำ และขยายระยะเวลาเป็น 2-3 เดือนต่อครั้ง