ภัยร้ายชาวไร่มันสำปะหลัง “โรครากเน่าโคนเน่า”
โรครากเน่าโคนเน่าในมันสำปะหลัง
- พบมากในช่วงฝนตกชุกเกิดจากเชื้อราไฟท็อปเทอร์ร่า (Phytopbthora spp.) ซึ่งเชื้อราชนิดนี้มักพบในแหล่งการเพาะปลูกที่มีการระบายน้ำได้ไม่ดี น้ำแช่ขังนาน มีสภาพดินดาน หรือฝนตกชุกเกินไป ต้นมันสำปะหลังที่อยู่เหนือดิน พบว่าใบจะเหี่ยวเหลือง โคนต้นเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เมื่อถอนขึ้นมาหัวมันจะเน่า ถ้าผ่าหรือหักหัวจะเห็นภายในมีสีน้ำตาล บางพันธุ์มีอาการเน่าที่โคนและส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน โดยที่ส่วนของลำต้นและใบยังมีลักษณะปกติ บางพันธุ์แสดงอาการรุนแรงยืนต้นตาย
การป้องกันกำจัด
- สำรวจแปลงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าช่วงฝนชุกควรสำรวจทุกวัน หากพบการระบาดให้ขุดถอนต้นที่แสดงอาการไปทำลายนอกแปลง
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บเศษเหง้า และเศษซากมันสำปะหลัง ไปทำลายนอกแปลงปลูก
- ควรทำความสะอาดเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ในแปลงที่เป็นโรค เนื่องจากเชื้อสาเหตุของโรคอาจติดมากับเครื่องจักรกลการเกษตร
- ในแปลงที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น อ้อย ข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่ว
เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท