ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ผักปลูกง่ายได้กินใน 60 วัน 4 วัน : ถั่วงอก 7 วัน : เห็ดนางฟ้า ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนทานตะวัน 30 วัน : ผักบุ้ง โหระพา แมงลัก กะเพรา สะระแหน่ 40

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี


โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน

ลักษณะอาการและการระบาด
โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma bonibense) เชื้อราชนิดนี้กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเริ่มแพร่กระจายมายังประเทศไทย โดยการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ถือว่ามีความรุนแรง เพราะต้นพืชที่ติดเชื้อแล้วจะตาย และไม่มีทางรักษา โดยพืชที่เป็นแหล่งอาศัย ได้แก่ พืชสกุลถ่อน หมากสง สนทะเล พืชสกุลค้อ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และพืชสกุลปาล์ม เป็นต้น

อาการของโรค
ในปาล์มน้ำมันที่มีอาการมากแล้ว อาการของต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค ใบด้านล่างจะเหลือง ใบยอดมีจุดสีเหลือง ใบไม่คลี่ ยอดอ่อนพับตัวลงและเริ่มเน่า ต่อมาต้นจะโตช้า รากบริเวณโคนต้น จะเริ่มแห้งและเน่า และสุดท้ายมีดอกเห็ดกาโนเดอร์มา (ลักษณะคล้ายเห็ดหลินจือ) งอกออกมาจากโคนต้น โดยหลังจากแสดงอาการแล้ว ปาล์มเล็กจะตายภายใน 6-12 เดือน และปาล์มใหญ่จะยืนต้นตายภายใน 2-3 ปี โดยหากมีการติดเชื้อกระจายไปมากกว่า 20% ของพื้นที่ ถือว่าไม่มีความคุ้มค่าต่อการทำสวนปาล์มน้ำมัน

การป้องกันกำจัด

  1. เผาทำลายต้นปาล์มที่เป็นโรคให้หมด และอย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มที่เป็นโรค
  2. ฆ่าเชื้อบนผิวดินบริเวณต้นที่เป็นโรค ด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์
  3. เพิ่มอินทรียวัตถุในสวน เช่น การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การวางกองทาง หรือการปลูกพืชคลุมดิน
  4. ฉีดหรือรด เชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้นปาล์มน้ำมัน
  5. ปรับสภาพดิน ให้มีค่าพีเอช (กรด-ด่าง) ที่เหมาะสม ซึ่งควรอยู่ในช่วง 5.0 ถึง 5.5

วิธีป้องกัน “โรคลำต้นเน่า” ในปาล์มน้ำมัน
ก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน
การเตรียมพื้นที่ก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน

  1. กำจัดตอเก่าของต้นปาล์มเดิมทิ้ง โดยการขุดหลุม ขนาด 1.5 x 1.5 เมตร ความลึก 60 เซนติเมตร ไถพรวน แล้วคราดเอาเศษรากปาล์มเก่าออกให้หมด
  2. สับต้นปาล์มเก่าให้เป็นชิ้นย่อย ๆ วางไว้เป็นแถว ห่างจากต้นที่จะปลูกใหม่อย่างน้อย 2 เมตร
  3. ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเร่งการย่อยสลายของเศษซากต้นปาล์มเก่า และช่วยในการหมุนเวียนธาตุอาหารพืช

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการควบคุมโรคลำต้นเน่า
เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichodema spp.) ถือเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ประสิทธิภาพสูง สามารถเข้าไปทำลายเชื้อราด้วยกันได้ดีกว่าการใช้สารเคมี

เรียบเรียง : สำนักงานเกษตร อำเภอเมืองสตูล

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน