ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เมื่อเกษตรกรทำการเพาะปลูก จำเป็นที่จะต้องเผชิญกับปัญหาศัตรูพืช ทั้งโรค และแมลง การใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืชจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกร มีผลผลิตที่มีคุณภาพ และช่วยลดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตรได้อีกด้วย ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้1. เชื้อราเมตาไรเซียม แอนนิโซพลิอีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3RZOh5k 2. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ (ชีวภัณฑ์) ในการควบคุมศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/3kkeiKL 3. มาตรฐานชีวภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์ชีววิธี)

การควบคุมภายใน (Internal Control) เครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ความหมายของการควบคุมภายใน การควบคุมภายใน (Internal Control) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงาน ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยงานจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ แนวคิดของการควบคุมภายใน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 316 (พฤษภาคม – มิถุนายน 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEการควบคุมภายใน (Internal Control) เครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ หน้า 4 เกษตรต่างแดนคงคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรไทยในตลาดส่งออกสาธารณรัฐประชาชนจีน

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา


โรคและแมลงศัตรูลำไยที่สำคัญ ที่มักพบเข้าทำลายลำไยในระยะติดผลและเจริญพัฒนาของผล มีดังนี้

  1. โรคราดำ (Sooty mold)
    ลักษณะอาการ : ลักษณะเป็นคราบสีดำเกาะอยู่ที่ผลและช่อผล ทำให้ผลผลิตไม่สามารถจำหน่ายได้ เนื่องจากสีผิวสกปรก เป็นที่ไม่พึงประสงค์ของผู้บริโภค
  1. โรคราน้ำฝน (Phytophthora fruit rot)
    ลักษณะอาการ : มักพบก่อนที่จะมีการเก็บเกี่ยวผลลำไยประมาณ 1 เดือน ช่วงฝนตกชุกติดต่อกัน ผลลำไยที่เป็นโรคจะเน่า และพบเชื้อราสีขาวฟูบนผิวผล ทำให้ผลร่วง ส่วนผลลำไยที่ยังไม่แก่เต็มที่ เมื่อเป็นโรคจะมีอาการผลแตก ในสวนที่เป็นโรครุนแรง พบว่าผลเน่าทั้งสวน
  1. หนอนเจาะผล (Fruit borer)
    ลักษณะการทำลาย : ตัวหนอนจะเจาะเข้าทำลายผลอ่อนลำไยแล้วกัดกินเนื้อในผลรวมถึงเมล็ด เหลือแต่เปลือกแล้วเข้าดักแด้อยู่ภายใน ผลที่ถูกเจาะจะกลวงและแห้งติดอยู่กับช่อผล จะพบรูหนอนเจาะ โดยหนอนจะหลบและซ่อนตัวอยู่ในโพรงผลที่เจาะหันหัวเข้าด้านใน แล้วหันส่วนปลายก้นปิดรูเจาะเพื่อหลบแสง
  1. มวนลำไย (Longan stink bug)
    ลักษณะการทำลาย : พบทำลายลำไยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อผลอ่อนทำให้ผลมีรอยช้ำเป็นจุดสีดำ และร่วงหล่นในที่สุด
  1. เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
    ลักษณะการทำลาย : เพลี้ยแป้งลำไยจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผลและก้านช่อผล แล้วถ่ายมูลน้ำหวานออกมา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของราดำ ทำให้เกิดโรคราดำ โดยมีมดเป็นพาหะช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยแป้งและทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น ผลผลิตที่พบเพลี้ยแป้งทำลายจะไม่ได้คุณภาพ ไม่สามารถจำหน่ายเป็นผลสด และอาจถูกระงับการส่งออกได้
  1. เพลี้ยหอยข้าวตอก (Wax scale)
    ลักษณะการทำลาย : เพลี้ยหอยข้าวตอกจะมีขนาดลำตัวประมาณ 5 มิลลิเมตร ผิวรอบนอกมีชั้นไขมันปกคลุม ทำให้ดูเหมือนเมล็ดข้าวตอก โดยตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงบนช่อผลลำไยแล้วสร้างชั้นไขมันคลุมตัวเองไว้ และไม่เคลื่อนที่ที่ไปไหนอีก แล้วถ่ายมูลน้ำหวานออกมาซึ่งเป็นแหล่งอาหารของราดำ ทำให้เกิดโรคราดำ โดยมีมดเป็นพาหะช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยหอยข้าวตอกและทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่