ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด


โรคและแมลงศัตรูลำไยที่สำคัญ ที่มักพบเข้าทำลายลำไยในระยะติดผลและเจริญพัฒนาของผล มีดังนี้

  1. โรคราดำ (Sooty mold)
    ลักษณะอาการ : ลักษณะเป็นคราบสีดำเกาะอยู่ที่ผลและช่อผล ทำให้ผลผลิตไม่สามารถจำหน่ายได้ เนื่องจากสีผิวสกปรก เป็นที่ไม่พึงประสงค์ของผู้บริโภค
  1. โรคราน้ำฝน (Phytophthora fruit rot)
    ลักษณะอาการ : มักพบก่อนที่จะมีการเก็บเกี่ยวผลลำไยประมาณ 1 เดือน ช่วงฝนตกชุกติดต่อกัน ผลลำไยที่เป็นโรคจะเน่า และพบเชื้อราสีขาวฟูบนผิวผล ทำให้ผลร่วง ส่วนผลลำไยที่ยังไม่แก่เต็มที่ เมื่อเป็นโรคจะมีอาการผลแตก ในสวนที่เป็นโรครุนแรง พบว่าผลเน่าทั้งสวน
  1. หนอนเจาะผล (Fruit borer)
    ลักษณะการทำลาย : ตัวหนอนจะเจาะเข้าทำลายผลอ่อนลำไยแล้วกัดกินเนื้อในผลรวมถึงเมล็ด เหลือแต่เปลือกแล้วเข้าดักแด้อยู่ภายใน ผลที่ถูกเจาะจะกลวงและแห้งติดอยู่กับช่อผล จะพบรูหนอนเจาะ โดยหนอนจะหลบและซ่อนตัวอยู่ในโพรงผลที่เจาะหันหัวเข้าด้านใน แล้วหันส่วนปลายก้นปิดรูเจาะเพื่อหลบแสง
  1. มวนลำไย (Longan stink bug)
    ลักษณะการทำลาย : พบทำลายลำไยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อผลอ่อนทำให้ผลมีรอยช้ำเป็นจุดสีดำ และร่วงหล่นในที่สุด
  1. เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
    ลักษณะการทำลาย : เพลี้ยแป้งลำไยจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผลและก้านช่อผล แล้วถ่ายมูลน้ำหวานออกมา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของราดำ ทำให้เกิดโรคราดำ โดยมีมดเป็นพาหะช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยแป้งและทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น ผลผลิตที่พบเพลี้ยแป้งทำลายจะไม่ได้คุณภาพ ไม่สามารถจำหน่ายเป็นผลสด และอาจถูกระงับการส่งออกได้
  1. เพลี้ยหอยข้าวตอก (Wax scale)
    ลักษณะการทำลาย : เพลี้ยหอยข้าวตอกจะมีขนาดลำตัวประมาณ 5 มิลลิเมตร ผิวรอบนอกมีชั้นไขมันปกคลุม ทำให้ดูเหมือนเมล็ดข้าวตอก โดยตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงบนช่อผลลำไยแล้วสร้างชั้นไขมันคลุมตัวเองไว้ และไม่เคลื่อนที่ที่ไปไหนอีก แล้วถ่ายมูลน้ำหวานออกมาซึ่งเป็นแหล่งอาหารของราดำ ทำให้เกิดโรคราดำ โดยมีมดเป็นพาหะช่วยเคลื่อนย้ายเพลี้ยหอยข้าวตอกและทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้น

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่