ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

ขอเชิญร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

โรคใบติดหรือใบไหม้

สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani
อาการของโรคมักพบที่ใบอ่อนก่อน เกิดแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลจะค่อยๆ ขยายตัวลุกลามแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อราจะเจริญลุกลามไปยังใบอื่นๆที่อยู่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรครุนแรงจะแห้ง ร่วงลงไปแตะติดกับใบข้างล่าง และเจริญเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายจุดในต้น ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อมๆ และใบจะค่อยๆร่วงหล่นไปยังโคนต้น


การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นอยู่บริเวณใต้โคนและวัชพืชบางชนิด เมื่อฝนตก เชื้อราจะกระเด็นขึ้นมาโดยเม็ดฝน ติดตามใบทุเรียนที่อยู่ต่ำก่อน เกิดอาการแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และเจริญสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่ส่วนขยายพันธุ์ไปยังส่วนอื่นๆ หรือบางครั้งเชื้อก็ติดไปกับมดที่มีอยู่ทั่วไปในสวนทุเรียน ขึ้นไปยังส่วนบนๆของต้น เมื่ออากาศร้อนชื้น มีฝนตกเป็นระยะ


การป้องกันกำจัด
1.ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดี
เป็นการลดความชื้น ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค
2.ในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบ
3.หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น นำไปทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เฮกซะโคนาโซล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เพนทิโอไพแรด 20% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น

โรคใบติดหรือใบไหม้