ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคใบขาวอ้อย

โรคใบขาวอ้อย สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา ลักษณะอาการ : พบในอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต พบอาการใบสีขาว สีเขียวอ่อนหรือสีขาวสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอย แตกกอมาก ไม่เจริญเติบโตและตาย การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทางท่อนพันธุ์อ้อยและระบาดผ่านแมลงพาหะ 2 ชนิด ได้ แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

การจัดการแมลงศัตรูข้าว ชนิดของแมลงที่ทำลายช่วงต่าง ๆ ของข้าวตลอดช่วงอายุ 120 วัน และการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะออกร่วง แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะกล้า แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะแตกกอ แมลงศัตรูพืชช่วงระยะออกรวง การป้องกันและกำจัดแมลง เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

การปลูกเตยหอม

การปลูกเตยหอม การเตรียมดินและโรงเรือนปลูก การปลูกเตยหอมปลูกด้วยวิธีการดำหน่อพันธุ์ ประมาณ 25,000 หน่อต่อไร่ โดยมีระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร วิธีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก ๆ 3-4 เดือน การเก็บเกี่ยว

ต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2568 ช่องทางออนไลน์ กรณีจดทะเบียนผ่าน e-Form กรณีจดทะเบียน ณ สำนักงานรับจดทะเบียน ดำเนินการ ดังนี้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯยื่นแบบ สวช.03 พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ เรียบเรียงโดย :

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ เอกสารประกอบ กรณีไม่เป็นนิติบุคคล เอกสารประกอบ กรณีเป็นนิติบุคคล ขั้นตอน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน แบ่งเป็น 2 กลุ่มกิจการกลุ่มที่ 1 : กลุ่มการผลิตสินค้า ประกอบด้วย 18 ประเภทกิจการ กลุ่มที่ 2 : กลุ่มการให้บริการ ประกอบด้วย 6

โรคราสนิมในอ้อย

โรคราสนิมในอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Puccinia melanocephala เชื้อราสาเหตุโรคสามารถพักตัวในเศษซากพืช เกิดโรคข้ามฤดู และสามารถแพร่กระจายผ่านลมและน้ำ อาการ : ใบอ่อนพบจุดแผลขนาดเล็กสีแดง เมื่อใบแก่จุดแผลจะขยายออกเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ใต้ใบมีแผลนูน เมื่อแผลแตกออก มีลักษณะขรุขระ พบผงสปอร์สีน้ำตาลแดง (สีสนิม) การป้องกัน *พ่นทุก

ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ความชื้นของเมล็ด20-25% วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้แรงงานคน ใช้เครื่องจักรกล ควรหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวในขณะที่ฝนตกหรือหลังฝนตกทันที การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การคัดคุณภาพ การขนย้าย เรียบเรียงโดย : กลุ่มจัดการศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้ว ขอเชิญร่วมงาน  คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1  ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ ศาลาประชาคมอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรม **ทั้งนี้เกษตรกรที่มาร่วมงาน ขอให้นำบัตรประจำตัวประชาชน

ธาตุอาหารและสูตรปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ตัวอย่าง 16-8-8 ตัวเลขบนกระสอบบอกถึงน้ำหนักของธาตุอาหารเทียบต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม N ไนโตรเจนปุ๋ย 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 16 กิโลกรัมปุ๋ย 50 กิโลกรัม จึงมีไนโตรเจน 8 กิโลกรัม P ฟอสฟอรัสปุ๋ย 100

เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย 1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้ 2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน


ไถกลบตอซัง ปรับโครงสร้างดิน ลดการเผา ลดหมอกควัน

การเผาตอซัง
การเผาตอซังมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร โดยทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน สูญเสียน้ำในดิน และทำให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด และทำให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซัง
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน ช่วยลดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก และเพิ่มการละลายธาตุอาหารในการหมักเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ ซึ่งเจริญได้ในสภาพเป็นกรด
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยพบว่าน้ำหมักชีวภาพมีฮอร์โมน และกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก กระตุ้นการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และเพิ่มการย่อยสลายตอซัง

การไถกลบตอซังข้าว

  • ผสมน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 5 ลิตร ต่อไร่ กับน้ำ 100 ลิตร
  • ใส่สารละลายน้ำหมักชีวภาพลงในถังที่ติดกับรถปั่นฟาง แล้วหยอดไปพร้อมกับการปั่นฟาง หรือสาดให้ทั่วสม่ำเสมอ แล้วใช้รถไถย่ำฟางให้จมดิน หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน
  • หลังจากหมักฟาง 10-15 วัน เตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกพืชหลังนาต่อไป

การไถกลบเศษพืชในพื้นที่ปลูกอ้อย
เกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งจากใบอ้อยและยอดอ้อย หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตปีแรกและผลผลิตอ้อยตอในปีต่อ ๆ ไปด้วย วัสดุเศษพืชดังกล่าวควรทิ้งไว้และทำการไถกลบทุกครั้ง เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน รวมทั้งคืนธาตุอาหารบางส่วนที่ต้นอ้อยดูดใช้กลับคืนสู่ดิน

การไถกลบเศษพืชในพื้นที่ปลูกพืชไร่
พื้นที่ปลูกพืชไร่โดยเฉพาะข้าวโพด มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีเศษวัสดุเหลือทิ้ง ได้แก่ ซังข้าวโพด และเปลือกข้าวโพด ซึ่งไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ เกษตรกรสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต แล้วไถกลบลงในดินระหว่างการเตรียมแปลงปลูกพืชใหม่ต่อไปได้ โดยวัสดุเศษพืชไร่จำพวกตอซังข้าวโพดและข้าวฟ่าง ทำการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรต่อไร่ ผสมกับน้ำ 40 ลิตร ใช้ระยะเวลาการไถกลบ 10 วัน ส่วนพืชตระกูลถั่วไถกลบโดยใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราเดียวกันฉีดพ่นแล้วไถกลบประมาณ 10 วัน

ประโยชน์จากการไถกลบตอซัง

  1. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความเหมาะสม : ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจของระบบรากพืชในดิน การซึมผ่านของน้ำได้อย่างเหมาะสมและการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น
  2. เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืชในดิน : เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง มีปริมาณธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการ และค่อย ๆ ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดิน ช่วยรักษาความสมดุลความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน ลดความเป็นพิษของดินเค็ม

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว