ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สับปะรดรับประทานผลสด พันธุ์ MD2เป็นสับปะรด ที่พัฒนาขึ้นที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ขนส่งทางเรือได้ โดยไม่เป็น “ไส้สีน้ำตาล” สามารถอยู่ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส นานกว่า 10 วัน รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อมีสีเหลืองเข้ม เนื้อต้น แน่น ไม่เป็นโพรง น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย

โรคไหม้ในข้าว

โรคไหม้ (Rice Blast Disease) พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่ ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ ระยะแตกกอ

การทำนาแห้ว

แผ่นพับที่ 6/2567 การทำนาแห้ว ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี แห้วที่ปลูกในปัจจุบันคือ “แห้วพันธุ์จีน” มีลำต้นคล้ายต้นหอมหรือใบกก ลักษณะปลูกคล้ายข้าว แห้วจีนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยคาดการณ์ว่าอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการนำไปปลูกยังเขตร้อนต่าง ๆ หลายประเทศ ซึ่งแหล่งปลูกแห้วจีนที่ใหญ่ที่สุดคือจังหวัดสุพรรณบุรี และถือเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว ลักษณะการทำลายหนอนกอ เข้าทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำ ๆ เมื่อฉีกกาบใบจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้อง หรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก” (whitehead) แนวทางการป้องกัน/กำจัด เรียบเรียง :

หนอนห่อใบข้าว

หนอนห่อใบข้าว รูปร่างลักษณะหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนโตเต็มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมีระยะการเจริญเติบโต 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัย ที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสัน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ

โรคไหม้ข้าว/โรคไหม้คอรวง ปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

ชวนอ่านเรื่องราวของ “การฟิ้นฟูแปลงผัก พืชสมุนไพร ยางพารา และสวนมะพร้าวหลังน้ำลด”รู้ก่อน เข้าใจก่อน กับ 4 เอกสารแนะนำดังนี้ การฟื้นฟูแปลงผักหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/48HwaaH การฟื้นฟูพืชสมุนไพรหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3U4phvu การฟื้นฟูสวนยางพาราหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/42336ry การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลดคลิกอ่าน : https://bit.ly/3T5S6q4 เรียบเรียง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนกันยายน 2567 จัดทำโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร จัดกิจกรรม “โครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ” จำนวนผู้เข้าอบรม 66 ท่าน โดยแบ่งเป็นรอบเช้า 36 ท่าน รอบบ่าย 30 ท่าน วิทยากรโดย กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ณ ห้องประชุม

การปลูกพืชผัก

งานนำเสนอเรื่องการปลูกพืชผัก ภายใต้ “โครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ” วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม 7 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เรียบเรียงโดย : กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ด้านประมง

ด้านประมง อันดับที่ ๑ โครงการเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อันดับที่ ๒ โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มเลี้ยงปูดำในบ่อกระเบื้องเชิงธรรมชาติ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อันดับที่ ๓ โครงการเลี้ยงปลาในกระชัง ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ด้านปศุสัตว์

ด้านปศุสัตว์ อันดับที่ ๑ โครงการเลี้ยงเป็ดไข่และการแปรรูป แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร อันดับที่ ๒ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง อันดับที่ ๓ โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ด้านการผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ด้านการผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อันดับที่ ๑ โครงการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปจากต้นจาก ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อันดับที่ ๒ โครงการส่งเสริมการแปรรูปปลาเพื่อเพิ่มมูลค่า ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อันดับที่ ๓ โครงการการแปรรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ตำบลศรีสว่าง อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ด้านฟาร์มชุมชน

ด้านฟาร์มชุมชน อันดับที่ ๑ โครงการฟาร์มชุมชน ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อันดับที่ ๒ โครงการฟาร์มชุมชน บึงสำราญ ๙๑๐๑ ตามรอยเท้าพ่อฯ ตำบลถาวรวัฒนา อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร อันดับที่ ๓ โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลหนองแขม ตำบลหนองแขม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

ด้านการจัดการศัตรูพืช

ด้านการจัดการศัตรูพืช อันดับที่ ๑ โครงการผลิตแตนเบียนบราคอน ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม อันดับที่ ๒ โครงการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาในข้าวเปลือก ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อันดับที่ ๓ โครงการเพิ่มศักยภาพศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง